โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานด้วยนวัตกรรม

(จังหวัดขอนแก่น อุดรธานี และสุรินทร์) ปี 2561



"ผ้าพื้นเมืองของไทย ที่มาจากมรดกทางวัฒนธรรมที่หลากหลายสามารถประยุกต์ สร้างจุดเด่นหรือความแตกต่างได้ และเป็นที่ต้องการของตลาดต่างประเทศอีกเป็นจำนวนมาก ด้วยเสน่ห์ของลวดลายและสีสัน การใช้วัตถุดิบจากธรรมชาติ เช่น ผลิตภัณฑ์ผ้าทอของกลุ่มจังหวัดภาคอีสาน จากข้อมูลในปี พ.ศ. 2555 ไทยส่งออกหัตถกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่าประมาณ 9,282 ล้านบาท โดยตลาดส่งออกหลักของไทย คือ กลุ่มอาเซียน รองลงมาคือ สหรัฐอเมริกา ซึ่งส่วนแบ่งตลาดของสองกลุ่มนี้ คิดเป็นสัดส่วนประมาณร้อยละ 60 ของมูลค่าส่งออกทั้งหมด โดยการส่งออกหัตถกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มมีแนวโน้มการเติบโตมาโดยตลอดในช่วงหลายปีที่ผ่านมา แต่ในปัจจุบันปัญหาของผ้าทออีสานและผลิตภัณฑ์หัตถอุตสาหกรรมสิ่งทอเครื่องนุ่งห่ม คือ ผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนยังขาดการพัฒนาทั้งรูปแบบ ลวดลายของผ้าทอ ไม่มีการนำเทคโนโลยีเข้ามาช่วยในกระบวนการผลิต ความรู้ในการเลือกใช้วัสดุเส้นใยใหม่ๆ ขาดองค์ความรู้ด้านนวัตกรรมที่ทำให้ผ้ามีคุณสมบัติพิเศษเพิ่มขึ้น เช่น ผ้าป้องกันรังสียูวี ผ้าที่ซักล้างสิ่งสกปรกออกง่าย ผ้าที่มีสมบัติต้านเชื้อแบคทีเรีย เป็นต้น ผลิตภัณฑ์ผ้าทอที่ยังไม่ได้มาตรฐาน เช่น ความคงทนของสี การเลือกใช้สีและสารเคมีในการย้อมที่ปลอดภัยและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม รวมทั้งและการออกแบบ เลือกใช้เทรนด์สีที่ทันสมัยสอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค"

กระทรวงวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี จึงเล็งเห็นแนวทางในการพัฒนาผู้ประกอบการวิสาหกิจชุมชนในกลุ่มหัตถอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มให้ได้รับการพัฒนาเชิงลึก โครงการเพิ่มมูลค่าผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานด้วยนวัตกรรม จึงเป็นโครงการภายใต้แนวคิด การใช้ความรู้ทางด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยีและนวัตกรรม ร่วมกับการออกแบบในเชิงสร้างสรรค์ ผสมผสานวัฒนธรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น อัตลักษณ์ของจังหวัด ยกระดับผลิตภัณฑ์ผ้าทออีสานให้มีรูปแบบมาตรฐานสากลร่วมสมัย เพิ่มมูลค่า สร้างความแตกต่าง การยกระดับผลิตภัณฑ์สิ่งทอด้วยนวัตกรรมให้เป็นสินค้าที่เป็นที่ต้องการของตลาดในวงกว้างเพิ่มมากขึ้น เพื่อให้สินค้าที่มีอยู่นั้นขยายขอบเขตทางการค้าและตรงกับความต้องการของลูกค้าให้เพิ่มขึ้น ดังนั้นการพัฒนาผลิตภัณฑ์ในกลุ่มผ้าทออีสานจะกระตุ้นและส่งเสริมให้ผู้ประกอบการเกิดการเรียนรู้และเข้าถึงนวัตกรรมใหม่ๆและพลิกวิกฤตให้เป็นโอกาสให้มากขึ้นด้วยการคิดต่างและผลิตงานที่ตรงกับความต้องการของตลาด ก็จะสามารถต่อยอดมูลค่าทางการขายได้มากขึ้น สร้างศักยภาพและความยั่งยืนให้กับสินค้าท้องถิ่นผลิตภัณฑ์โอทอปและพร้อมก้าวไปสู่เวทีโลกต่อไป

The Value added through innovation on Northeast handmade weaving fabric is the project for Small and Micro Community Enterprise(SMCE) in Northeast of Thailand. The project emphasized on three dimensions
1. Innovation of weaving process
2. Dyeing and Finishing process with natural color
3. Design process with uniqueness and local wisdom
The three dimensions are great way for development of sustainable handmade fabric which generates income for local community.