หน้าแรก / THTI Insight / องค์ความรู้ / Design for Wellness: นวัตกรรมแนวคิดและการออกแบบ

Design for Wellness: นวัตกรรมแนวคิดและการออกแบบ

กลับหน้าหลัก
19.12.2559 | จำนวนผู้เข้าชม 4562

การออกแบบผลิตภัณฑ์
       การออกแบบผลิตภัณฑ์เครื่องแต่งกายมีความสัมพันธ์กับกระบวนทางการตลาด โดยมีเป้าหมายร่วมกันที่จะมีคอลเคลชั่นสินค้าเพื่อขายในอนาคตตามเวลาที่กำหนด และสามารถทำการตลาดได้อย่างเหมาะสม โดยมีวัตถุประสงค์หลักคือการมีคอลเคลชั่นสินค้าค้าที่ เสี่ยงต่ำที่สุด และได้ ผลตอบแทนสูงสุด
 
       นักวิชาชีพด้านการออกแบบทำหน้าที่พัฒนาสินค้าให้ทั้งด้านการออกแบบเชิงสร้างสรรค์ เพื่อให้เกิดคุณค่าด้านความงามแก่ผู้บริโภค ควบคู่กับการออกแบบเชิงวิศวกรรมที่สร้างคุณค่าที่เกิดจากประโยชน์การใช้งาน การดูแลรักษาที่เหมาะสม และเป็นไปได้ด้านการผลิต
 
       แนวทางการออกแบบจึงประกอบด้วย การเข้าใจกลุ่มเป้าหมายและระดับคุณภาพที่กลุ่มเป้าหมายคาดหวัง การวางแผนคอลเคลชั่น การเลือกใช้องค์ประกอบของการออกแบบ รูปร่างของผู้สวมใส่ ช่วงขนาดที่เลือกผลิต และการคำนึงถึงปัจจัยภายนอกที่มีผลต่อการออกแบบ ซึ่งกระบวนการดังกล่าวทั้งหมดต้องสอดประสานกันเป็นหนึ่งเดียว จึงจะทำให้เกิดผลิตภัณฑ์ที่มีคุณค่าแก่ผู้บริโภค และเกิดมูลค่าเพิ่มแก่นักออกแบบและผู้ผลิต
 
องค์ประกอบของการออกแบบ
       ส่วนต่างๆของเสื้อผ้า /เสื้อนอก
       ส่วนต่างๆของเสื้อผ้า/เสื้อท่อนบนสตรี
       องค์ประกอบของการออกแบบ Design Variation
       เส้นกรอบนอก/โครงเสื้อผ้า Silhouette/Outline
 
Design for Wellness: Functional Textiles นวัตกรรมแนวคิดและการออกแบบ
      จากทิศทางเศรษฐกิจโลกที่มีความผันผวน ทำให้อัตราการขยายตัวของอุตสาหกรรมสิ่งทอชะลอตัวลงทั่วโลก แต่ในชณะเดียวกัน กลุ่มสินค้าเพื่อสุชภาพ การแพทย์และการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นกลุ่มที่เน้นสร้างคุณภาพชีวิตทีี่ดีกลับมีอัตราการขยายตัวที่เพิ่มชี้นอย่างต่อเนื่อง ทำให้เกิดโอกาสใหม่ๆจากการเปลี่ยนแปลงวิถึชีวิต และการเข้าสูงยุคผู้สูงอายุ ผลิตภัณฑ์ในกลุ่มสุชภาวะ หรือ wellness จึงมีโอกาสทางการตลาดอยู่ การขยายตัวของตลาดในแนวนี้จึงส่งผลโดยตรงต่อการออกแบบและพัฒนาสินค้าเครื่องแต่งกาย ซึ่งแต่เดิมจะเน้นการออกแบบเพื่อให้เกิดความสวยงาม มาเป็นการออกแบบที่มีคุณสมบัติพิเศษ สามารถแก้ปัญหาและตอบโจทย์ของผู้บริโภคได้ครบทุกด้าน
 
อาจารย์อภิธาน ลี 
      ผู้ประกอบการต้องคิดเชิงออกแบบ หรือที่เรียกว่า Design Thinking ผู้เชี่ยวชาญด้านการออกแบบผลิตภัณฑ์ได้ให้แง่คิดว่า ให้ความสำคัญในการสร้างเอกลักษณ์ของสินค้าและมีคุณสมบัติเฉพาะสำหรับบุคคลการสร้างให้เกิดความ Uniqueness และ Personalisation มากกว่าเพียงเน้นรูปลักษณ์ที่สวยงาม การออกแบบไม่ใช่เพียงนำเสื้อผ้าไปวางไว้บนตัวคน แต่ต้องออกแบบให้เป็นส่วนหนึ่งของคน ทำการวิเคราะห์บริบทของสังคมเพื่อปรับใช้ในการผลิต เช่น การที่โครงสร้างทางสรีระทางร่างกายที่เปลี่ยนแปลงไปจากการเข้าสู่สังคมผู้สูงวัย ต้องคำนึงว่าการออกแบบต้องเปลี่ยนแปลงไปอย่างไร
 
คุณบุรฉัตร ตั้งจิตอารี
      นักออกแบบต้องทำงานตลอดกระบวนการ ถึงการผลิตและการตลาดด้วยปัจจุบันนักออกแบบต้องวิเคราะห์วางแผนงานออกแบบตลอดช่วงกระบวนการผลิตไปพร้อมๆ กับการออกแบบหาวัสดุรอบตัวนำกลับมาประยุกต์ใช่ในการออกแบบชิ้นงาน ต้องทำความเข้าใจและสามารถสื่อสารกับงานในด้านอื่นๆได้จึงจะประสบความสำเร็จ
 
คุณปิลันธน์ ธรรมมงคล
      เน้นการทดลอง และแก้ปัญหาของคนอื่น โดยใช้เทคโนโลยีง่ายๆคุณปิลันธน์ซึ่งเป็นผู้ผลิตสิ่งทอได้ทดลองการออกแบบและการพัฒนามาหลายแนวทาง ทั้งการวิจัยตลาด การศึกษเรื่องราคา แต่ปัจจุบันพบว่า การออกแบบและการผลิตสินค้าเพื่อแก้ไขปัญหาพื้นฐานของบริโภคกลับเป็นเรื่องสำคัญและช่วยให้ประสบความสำเร็จได้ การทำความเข้าใจกับผู้ใช้อย่างถ่องแท้นั้น คุณปิลันธน์อาศัยการสังเกต และทดลองปรับปรุงอย่างต่อเนื่อง โดยคำนึงถึงเสมอว่าการพัฒนานั้นจะไม่กระทบกับวิถีชีวิตเดิมของผู้ใช้งานเป็นสำคัญ ตัวอย่างเช่น การทำความเข้าใจถึงปัญหาของเครื่องแต่งกายมุสลิมเพื่อพัฒนาสิ่งทอ พบว่าชาวมุสลิมในอาเชียนต้องสวมใส่อยู่ในสภาพอากาศที่ร้อนชี้น แต่ปัจจุบันเครื่องแต่งกายที่สวมใส่มักทำด้วยเส้นใยโพลีเอสเตอร์ สวมใส่แล้วร้อน ไม่ระบายความชื้น เกิดการสะสมของเชื้อโรค เพื่อค้นพบปัญหาพื้นฐานดังนี้ ก็สามารถตั้งโจทย์การพัฒนาได้ตรงจุด ปรับเปลี่ยนวัตถุดิบที่ใช้ทำให้เกิดตลาดใหม่ๆในตลาดเดิม จะเห็นได้ว่า ผู้ประกอบการและนักออกแบบควรก้าวออกมาจากพื้นที่เดิมๆ ไม่ยึดติดกับการผลิต เมื่อออกมาแล้วจะใหญ่ขึ้น เป็นหุ้นส่วนที่มีความไว้วางใจกันมากขึ้น
 
คุณพิบูลย์ มนัสพล 
      เปิดกว้างการทำความร่วมมือคุณพิบูลย์ถ่ายทอดประสบการณ์ว่า การเปลี่ยนรูปแบบผู้ผลิตจาก OEM ซึ่งรับจ้างผลิตตามข้อกำหนดของผู้ซื้อ มาเป็น ODM ที่มีการออกแบบเป็นของตนเอง ในสินค้า Sportwear นั้นไม่ใช่เรื่องง่าย การออกแบบเพื่อสุขภาวะ หรือ wellness ซึ่งสัมพันธ์กับการเข้าถึงวัตถุดิบที่มีคุณสมบัติพิเศษทำได้ยากในประเทศไทย จำเป็นต้องเปิดกว้างรับวัตถุดิบจากต่างประเทศ ซึ่งการในการพัฒนานั้นต้องเริ่มตั้งแต่การเข้าถึงช่องทางแหล่งผู้ผลิตโดยตรง ผลักดันเพื่อให้เกิดการเชื่อมโยงระหว่างผู้ผลิตจนเกิดการรวมกลุ่มในรูปแบบ Cluster และการเข้าถึงองค์กรหรือหน่วยงานที่ให้บริการในด้านองค์ความรู้เฉพาะด้านต่างๆ เพื่อนำมาปรับเปลี่ยนรูปแบบการผลิต ณ ปัจจุบัน และที่สำคัญสุดผู้ผลิตเองต้องเรียนรู้พร้อมกับปรับเปลี่ยนโลกทัศน์ให้ทันต่อสถานการณ์ในปัจจุบันอย่างทันถ่วงที 
 
      การเสวนาให้ความสำคัญกับการทำงานร่วมกันระหว่างหลายฝ่าย และการริเริ่มทำงานในเรื่องใหม่ๆที่ไม่เคยทำ อาจจะมีความเสี่ยงอยู่บ้าง แต่ก็มีความจำเป็น เพราะการทำอุตสาหกรรมในปัจจุบันไม่สามารถอยู่รอดได้บนการผลิตขนาดใหญ่อย่างเดิมอีกต่อไป
 
เรียบเรียงจากการสัมมนา Design for Wellness วันที่ 15 ธันวาคม 2559
โดย : ฝ่ายวิจัยนโยบายและบริการสารสนเทศอุตสาหกรรมสิ่งทอ