หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมกราคม 2564

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมกราคม 2564

กลับหน้าหลัก
18.03.2564 | จำนวนผู้เข้าชม 2752

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมกราคม 2564

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนมกราคม 2564

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนมกราคม 2564 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 121.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.11 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 73.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.92 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 48.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.38 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 157.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 20.78 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 97.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.81 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 59.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.18 ส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุล คิดเป็นมูลค่า 35.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 1 แสดงมูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนังและรองเท้า) ในเดือนมกราคม 2564

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 1 มูลค่าการส่งออกของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ ในเดือนมกราคม 2564 ของกลุ่มเครื่องหนัง พบว่า ภาพรวมการส่งออกปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 23.92 หรือคิดเป็นมูลค่า 73.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด พบว่า ในเดือนมกราคม 2564 การส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 10.11 หรือคิดเป็นมูลค่า 53.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด พบว่า ผลิตภัณฑ์ของเล่นสำหรับสัตว์เลี้ยงมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 46.76 หรือคิดเป็นมูลค่า 0.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการส่งออกไปยังตลาดเนเธอร์แลนด์ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 88.83

ขณะที่ผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับเดินทาง ภาพรวมการส่งออกปรับตัวลดลงในเดือนมกราคม 2564 ที่ร้อยละ 46.49 หรือคิดเป็นมูลค่า 19.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากสินค้าในทุกผลิตภัณฑ์ที่ลดลง

และผลิตภัณฑ์รองเท้าและชิ้นส่วน พบว่า ภาพรวมการส่งออกปรับตัวลดลงในเดือนมกราคม 2564 ที่ร้อยละ 10.38 หรือคิดเป็นมูลค่า 48.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ เมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์ของรองเท้าและชิ้นส่วน พบว่า รองเท้ากีฬามีการปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 377.43 หรือคิดเป็นมูลค่า 5.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการส่งออกไปยังตลาดมาเลเซียที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6,171.99 และรองเท้าแตะมีการปรับตัวเพิ่มขึ้นที่ร้อยละ 2.20 หรือคิดเป็นมูลค่า 8.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการส่งออกไปยังตลาดเมียนม่าที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.27

ตารางที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกเครื่องหนังและรองเท้าไปยังตลาดสำคัญในระหว่างปี 2563 – 2564

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

ตลาดส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องหนังและรองเท้า (จำแนกตามรายผลิตภัณฑ์) รายประเทศ 5 อันดับแรกในเดือนมกราคม 2564 พบว่า ผลิตภัณฑ์หนังและผลิตภัณฑ์หนังฟอกและหนังอัด ตลาดหลักยังคงเป็นเวียดนาม มูลค่าการส่งออกลดลงร้อยละ 1.14 หรือคิดเป็นมูลค่า 16.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ รองลงมาได้แก่ อินโดนีเซีย จีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา คิดเป็นมูลค่า 6.5, 5.5, 4.3 และ 4.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ถัดมาผลิตภัณฑ์เครื่องใช้สำหรับเดินทาง สหรัฐอเมริกายังคงเป็นตลาดหลักในสินค้ากลุ่มนี้ มีมูลค่าการส่งออกสินค้าดังกล่าว 5.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 48.59 รองลงมาได้แก่ ฮ่องกง  สวิตเซอร์แลนด์ ญี่ปุ่น และจีน คิดเป็นมูลค่า 2.9, 2.6, 2.1 และ 1.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และผลิตภัณฑ์รองเท้าและชิ้นส่วน ในเดือนดังกล่าว สหรัฐอเมริกาเป็นตลาดที่มีการส่งออกสูงสุด โดยมีมูลค่าการส่งออก 7.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.96 รองลงมาได้แก่ มาเลเซีย เมียนม่า จีน และเดนมาร์ก มีมูลค่าการส่งออก 3.9, 3.7, 3.4 และ 3.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ตารางที่ 3 แสดงมูลค่าการนำเข้าของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนังและรองเท้า) ในเดือนมกราคม 2564

ที่มา : ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

รวบรวมโดย : ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

จากตารางที่ 3 มูลค่าการนำเข้าของไทยแยกตามรายผลิตภัณฑ์ (เครื่องหนังและรองเท้า) ในเดือนมกราคม 2564 พบว่า ภาพรวมการนำเข้าปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 20.78 หรือคิดเป็นมูลค่า 157.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และเมื่อพิจารณาในรายผลิตภัณฑ์หนังดิบและหนังฟอก พบว่า ในเดือนมกราคม 2564 การนำเข้าปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 5.93 หรือคิดเป็นมูลค่า 53.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

ขณะที่ผลิตภัณฑ์กระเป๋าเดินทาง ในเดือนมกราคม 2564 การนำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 34.93 หรือคิดเป็นมูลค่า 44.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

และการนำเข้าในกลุ่มผลิตภัณฑ์รองเท้าในเดือนมกราคม 2564 พบว่า การนำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 19.18 หรือคิดเป็นมูลค่า 59.6 ล้านเหรียญ 

**********************************************

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

18 มีนาคม 2564

นำเข้าส่งออกเครื่องหนัง,อุตสาหกรรม,เครื่องหนัง, รองเท้า,เดือนมกราคม,ปี 2564,สะสม 1 เดือน,ม.ค.-ม.ค.,ส่งออก,นำเข้า,Export,Import,Leather,Shoes,สถานการณ์