หน้าแรก / THTI Insight / องค์ความรู้ / Jackets, Blazers and Suits แจ๊คเก็ต เสื้อนอก สูท

Jackets, Blazers and Suits แจ๊คเก็ต เสื้อนอก สูท

กลับหน้าหลัก
06.04.2561 | จำนวนผู้เข้าชม 15975

Jacket - เสื้อแจ๊คเก็ต สำหรับผู้ชาย ช่วงคริสต์ศตวรรษที่ 15 - 17 ในฝรั่งเศสและอังกฤษ ใช้เรียกเครื่องแต่งกายที่มักไม่มีแขนเสื้อ ใส่ทับเสื้อรัดรูป เรียกอีกอย่างว่า jerkin ในคริสต์ศตวรรษที่ 18 สวมใส่โดยชาวชนบท กรรมกร คนเดินเรือจนกลายเป็นสัญลักษณ์ทางสังคมของชนชั้นล่าง ในกลางคริสต์ศตวรรษที่ 19 ได้ยอมรับและใช้แทนเสื้อคลุมเข้าชุดในบางโอกาส

สำหรับผู้หญิง เสื้อแจ๊คเก็ตนี้เป็นประเภทเดียวกับเสื้อรัดรูปของผู้หญิง ซึ่งหลวมกว่าและเป็นทางการกว่า เรียกอีกอย่างว่า doublet ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 เมื่อผู้หญิงมีการสวมเสื้อรัดรูปและกระโปรงแยกชิ้น ตัวเสื้อที่แยกกันนี้ เรียกว่า jacket bodice ปัจจุบันคำว่า "jacket" หมายถึงเสื้อสวมทับชิ้นบน มีหลายแบบทั้งทางการและลำลอง แบ่งเป็นความหมายต่างๆ ได้แก่ 1. เครื่องแต่งกายท่อนบน มักสั้นกว่าความยาวระดับสะโพก ออกแบบให้ใส่ทับเสื้อผ้าอื่นในร่มและกลางแจ้ง บ้างทำติดกระดุมสองแถวหรือแถวเดียว หรือไม่มีการติด หรือติดด้วยการรูดซิป 2. ส่วนหนึ่งของชุดสูทที่ใส่ทับด้านบนของร่างกายที่เรียกว่า เข้าชุดกับกางเกง มาจากภาษาฝรั่งเศสโบราณ jackquette ชื่อสั้นๆ คือ Jacque ซึ่งแปลว่า เสื้อคลุม

 Blazer - เสื้อสูทลำลอง เรียกทับศัพท์ว่าสูทเบลเซอร์ เป็นสูทแบบมาตรฐาน ปกแบบ notched collar กระเป๋าเป็นแบบปะติด ติดกระดุมคล้ายโลหะ ไข่มุก นิยมใช้ผ้าหนังกลับ หรือผ้าสักหลาด

Suit - ชุดสูทผู้หญิงโดยทั่วไปประกอบด้วยเสื้อนอก และกระโปรงหรือกางเกงขา ยาว ของผู้ชายปกติประกอบด้วยกางเกงขายาวและเสื้อนอกแบบกระดุมแถวเดียวหรือคู่ มีเสื้อกั๊กทับ ชุดที่ประกอบด้วยเสื้อนอก เสื้อกั๊ก และกางเกงขายาวสำหรับผู้ชาย หรือเสื้อนอก กระโปรง และกางเกงขายาวสำหรับผู้หญิง เรียกว่า three-piece suit คำว่า suit ใช้ในคริสต์ศตวรรษที่ 16 และ 17 เรียกว่า doublet และ hose ความหมายของ suit ในปัจจุบันมีมาตั้งแต่ปลายคริสต์ศตวรรษที่ 19 สำหรับรูปแบบเฉพาะ [ดู ditto suit, Eton suit, Little Lord Fauntleroy suit, sailor suit และ zoot suit]


เสื้อเทเลอร์ (Tailored suit) เป็นลักษณะของสูท (Suit) สตรีแบบหนึ่งจะเป็นเสื้อคลุม (Jacket) มีปกที่ใส่คู่กับกระโปรง หรือกางเกง เป็นเสื้อที่ได้รับความนิยมในหมู่สตรีเป็นอย่างมาก เนื่องจากสามารถสวมใส่ได้หลายโอกาส แบบเสื้อไม่ล้าสมัย

เสื้อเทเลอร์ หมายถึง เสื้อที่ใช้วิธีการตัดเย็บด้วยวิธีของช่างเสื้อชาย เป็นวิธีการตัดเย็บแบบใช้การเย็บด้วยมือมากกว่าการเย็บด้วยจักร และมีการสั่งตัดเป็นรายบุคคล โดยไม่จำกัดว่าจะเป็นเสื้อชาย หรือเสื้อหญิงก็ได้ ลักษณะของเสื้อจะเป็นเสื้อคลุม (Jacket) ตัวเดียว หรือถ้าเป็นชุด คือ เสื้อกับกระโปรง หรือเสื้อกับกางเกง ตัดด้วยผ้าชนิดเดียวกันจะเรียกว่าสูทแบบเทเลอร์ (TAILORED SUIT)

ชนิดของเสื้อเทเลอร์
ลักษณะของเสื้อเทเลอร์จะเป็นเสื้อคลุม (Jacket) ตัวนอกสวมทับเสื้อตัวใน ในอดีตมีวัตถุประสงค์เพื่อให้เกิดความอบอุ่น แต่ในปัจจุบันสุภาพสตรีจะนิยมสวมใส่กันมาก เพราะสามารถใส่ได้หลายโอกาส มีรูปแบบมากมาย จะสวมใส่กับกระโปรง หรือกางเกงก็ได้ ด้วยเหตุนี้เสื้อแบบเทเลอร์จึงแบ่งได้ 2 ชนิด คือ เสื้อเทเลอร์ชาย แบะเสื้อเทเลอร์หญิง

ความแตกต่างของเสื้อเทเลอร์ชุดสูทผู้ชายและเสื้อเทเลอร์ชุดสูทผู้หญิง มีความแตกต่างกัน ดังนี้

                1. รูปร่าง รูปร่างของชาย และหญิงจะมีความแตกต่างกันมาก ซึ่งจะเห็นได้อย่างชัดเจน เช่น ผู้หญิงมีหน้าอก เอวคอด สะโพกผาย แต่ชายจะมีลักษณะอกตัน ไหล่ตั้ง สะโพกสอบ ด้วยรูปร่างที่แตกต่างกันนี้ ทำให้เสื้อเทเลอร์ชาย และเสื้อเทเลอร์หญิง จะมีความแตกต่างกันที่รูปทรงของตัวเสื้อ ผู้ชายนิยมรูปทรงเสื้อแบบตัวหลวม แต่ผู้หญิงจะนิยมเสื้อแบบเข้ารูป
                2.วัสดุในตัวเสื้อ นอกจากรูปร่างของชาย และหญิง จะแตกต่างกันแล้ว วัสดุที่นำมาใช้ในการตัดเย็บก็จะแตกต่างกันไปอีกด้วย ในเสื้อเทเลอร์ของผู้ชาย วัสดุที่นำมาใช้ประกอบกับเสื้อจะเน้นวัสดุที่แข็งแรงมีรูปทรงที่แน่นอน ทำให้เสื้อมีรูปทรงที่มั่นคง และแข็งแรง ส่วนวัสดุที่ใช้ประกอบในเสื้อของเทเลอร์หญิงจะเป็นวัสดุอ่อนบาง ไม่แข็งแรงเหมือนกับเสื้อชาย เพราะลักษณะของเสื้อเทเลอร์หญิงต้องการความนุ่มนวล อ่อนหวานดูเป็นธรรมชาติ

Screen Shot 2559-05-19 at 2.55.39 PM.png

ส่วนประกอบของเสื้อเทเลอร์
               1. ปกเสื้อด้านหน้า - ปก NOTCHED จะเป็นปกที่มีรูปแบบแลดูเข้มแข็ง และเป็นพิธีรีตอง สามารถสวมใส่ได้ทุกโอกาส และไม่ล้าสมัย
               2. ตะเข็บในตัวเสื้อ - ควรตัดแต่งตะเข็บให้เรียบร้อย เพื่อให้ตะเข็บบางไม่เป็นสันดูสวยงาม
               3. ปกเสื้อด้านหลัง - เมื่อพับปกลงขอบของปกจะต้องปิดแนววงคอหลังได้ตรงพอดี
               4. กระเป๋าบน - จะต้องอยู่ในแนวบ่าหน้าพอดี และแนบสนิทกับตัวเสื้อ ฝากระเป๋าไม่เปิด
               5. กระเป๋าล่าง - เป็นกระเป๋าเจาะมีฝา ลักษณะมน รับกับชายเสื้อ ความมนของฝากระเป๋าจะทำให้ลักษณะของเสื้อดูนุ่มมากขึ้น
               6. รังกระดุมกุ๊น - การเจาะรังกระดุมด้วยวิธีการกุ๊น จะต้องด้วยวิธีใช้ผ้า 1 ชิ้น หรือ 2 ชิ้น ก็ยังคงเป็นลักษณะรังดุมของเสื้อผู้หญิงและจะต้องเจาะรังดุมที่ด้านขวาของตัวเสื้อ
               7. ซับในตัวเสื้อ - การประกอบซับในตัวเสื้อเป็นสิ่งสำคัญ เพราะจะทำให้เสื้อตัวนั้น มีรูปทรงที่คงตัวอยู่ได้นาน
               8. แขนเสื้อ - แขนเสื้อแบบ 2 ตะเข็บ คือ ตะเข็บด้านหน้า และตะเข็บด้านหลัง จะสวมใส่ได้รูปทรงดีกว่าแขนที่มีตะเข็บเดียว ซึ่งตะเข็บข้อศอกจะเป็นแนวตะเข็บที่ทำให้ตัวแทนได้รูปทรง
               9. แนวเปิดปลายแขน - เป็นแบบของแขนเสื้อที่แลดูคลาสสิก ที่มีความสำคัญช่วยเสริมให้ตัวเสื้อคงอยู่ในสมัยนิยมตลอดไป
               10. การใช้ผ้าเสริมไหล่ - เป็นส่วนที่ช่วยเสริมบริเวณไหล่ให้ดูเรียบตึง เพื่อปิดยังแนวบ่าของสตรีที่ไม่มีเนื้อ ให้แลดูมีเนื้อหนังมากขึ้น

Men’s Style Jacket เสื้อนอก/สูทผู้ชาย

Basic Tailored

Blazer

Dinner

Ivy League

เสื้อเทเลอร์

เสื้อสูทลำลอง

เสื้อชั้นนอกสีขาวกึ่งทางการของผู้ชาย

สูทผ้าสักหลาด เสื้อนอกไหล่แคบ เอวหลวม ใส่กับเสื้อเชิ้ตขาว ปกเสื้อติดกระดุม ผูกเน็กไทลายทาง


Mackinaw

Nehru

Safari

Western

เสื้อชั้นนอกแนวกีฬายาวถึงสะโพก ทำจากผ้าขนสัตว์หนาหนักลายคล้ายกับที่ใช้ทำผ้าห่ม

เสื้อเนห์รู เป็นแจ๊คเก็ตทรงตรง เพรียว ยาวถึงสะโพก ติดกระดุมด้านหน้าจนถึงคอปกตั้งตรง

เสื้อนอก ผ้าฝ้าย ลินิน หรือผ้าลูกฟูกกันน้ำ มักทำจากหนังกลับและกันน้ำ มักตกแต่งกระเป๋าที่หน้าอก ชายเสื้อ และข้อมือ คาดเข็มขัดบริเวณสะโพก มีพื้นฐานจากเสื้อเชิ้ตผู้ชายหลวม เสื้อซาฟารีที่ชาวยุโรปใส่ขณะล่าสัตว์ในแอฟริกา

แจ๊คเก็ตแบบที่พวกคาวบอยอเมริกันใส่ ทำจากหนังกวางหรือผ้า มีกระเป๋าหน้าอก บ่าเสื้อ บ้างติดพู่หนังที่บ่า แขนเสื้อและชายเสื้อ


 

Jacket overlap & Buttons ชายเสื้อ สาปและกระดุม

Single-breasted การติดกระดุมแบบสามัญ ใช้กับสูท เสื้อแจ๊คเก็ต เสื้อผู้หญิง และเสื้อโค้ท มีอักษรย่อว่า S.B. ติดกระดุมแถวเดียว เรียงลงไปตรงกลางด้านหน้าของเสื้อผ้า

Double-breasted กระดุม 2 แถว

Cutaway

One-closed

Two-closed

Roll-down

Cutaway

Two-closed

Three-closed


Front Cut ส่วนชายเปิดด้านหน้า

Regular cut = A small, round cut that is often seen on single-breasted jackets.

Round cut = A cut that is even more round than the regular cut.

Cutaway = A round cut that runs diagonally from the lower back.

Square cut = Often seen on the double-breasted jacket.

Regular cut

Round cut

Cutaway

Square cut

ชายโค้งปกติ

ชายมน

ชายเสื้อด้านหน้าตัดเป็นแนวโค้งเรียวไล่ไปยังหลัง

ชายตรง

Vent/Slit รอยผ่าแนวตั้งของเสื้อ มักอยู่ด้านข้างหรือด้านหลังตั้งแต่ขอบลึกเข้าไป

Center vent

Side vents

Hook vent

Inverted vent

No vent

One-piece back

ผ่ากลาง

ผ่าหลัง 2 ข้าง

ผ่าแบบมีเย็บตรึงรอยเปิด

รอยผ่าพับจีบกลับ

ชิ้นหลังสองชิ้นไม่มีผ่าหลัง

ชิ้นหลังชิ้นเดียว


Lapel design ปก


Notched

Roll-down

Peaked (sword)

Cloverleaf

Fish mouth

Peaked Shawl collar

 

ปกเทเลอร์ตัดต่อในตำแหน่งปกเสื้อด้านหน้า ต่อจากปกมาด้านล่าง

มีส่วนปลายขอบด้านนอกเอียงเฉียงลง

ปลายปกปกติแต่ด้านล่างสุดมุมม้วนพับ

ปกเทเลอร์ตัดต่อในตำแหน่งปกเสื้อด้านหน้า ต่อจากปกมาด้านล่าง

มีขอบด้านนอกเอียงเฉียงขึ้น

ปลายปกโค้งใบโคลเวอร์

ปลายปกหักขึ้นแบบปากปลา

ปลายปกล่างหักตัดต่อกันกับปกบนโค้งต่อเป็นชิ้นเดียวแบบปกกล้วยหอม

 

 

Semi-notched

Bullied

Semi-peaked

Semi-cloverleaf

flower

L-shaped

T-shaped

ปกต่อปลายขอบด้านนอกเฉียงลงครึ่งหนึ่ง

ขอบปกล่างโค้งรับรอบคอ

อบด้านนอกเอียงเฉียงขึ้นครึ่งนึง

ปลายปกโค้งใบโคลเวอร์เฉพาะปกล่าง

ตัดต่อปกปลายรูปโค้งกลับดอกไม้

ตัดต่อปก ปลายตัดหักมุมตัวแอล

ตัดต่อปกต่อกันรูปตัวที


 

Shoulder Line ไหล่

Natural

Square

Big

Built up

Dropped

ไหล่โค้งปกติ

ไหล่ตัดตรงมุมเหลี่ยม

ไหล่ใหญ่กว่าปกติ

เสริมไหล่หัวแขน

ไหล่ตกตัดต่อหัวแขนต่ำกว่าปกติ

Pocket กระเป๋า

Patch pocket

Patch and Flap pocket

Pleated pocket

Change pocket

Welt pocket

กระเป๋าสี่เหลี่ยมใบใหญ่ที่เย็บปะอยู่ด้านนอกของเสื้อโค้ท เสื้อแจ๊คเก็ต และชุดติดกัน

กระเป๋าปะ มีฝา

กระเป๋าปะมีพลีทกลาง

กระเป๋าซ่อนสำหรับใส่เหรียญ

กระเป๋าเจาะ

กระเป๋าเจาะ กระเป๋าที่แทรกอยู่ข้างในโดยขอบกระเป๋าอยู่ต่ำกว่าตัวกระเป๋า ตกแต่งโดยใช้ลิ้นปากกระเป๋าแนวตั้งที่อาจมีความกว้างตั้งแต่ 3/8 นิ้ว ถึง 1นิ้ว โดยปกติแล้วกระเป๋าหน้าอกเสื้อจะติดอยูที่ด้านหน้าซ้ายของเสื้อสูทหรือเสื้อโอเวอร์โค้ทของผู้ชาย บางทีช่างตัดเสื้ออาจเรียกว่า besom pocket [bee' -zum] หรือ a double besom pocket ถ้าหากขอบทั้งสองด้านมีลิ้นปากกระเป๋า แต่ถ้าเพิ่มปากกระเป๋าเข้าไป จะเรียกว่า a flapped besom เรียกอีกอย่างหนึ่งว่า slit pocket [ดู bound pocket]

Piped pocket

Flap pocket

Slanted pocket

กระเป๋าเจาะ พร้อมกุ๊นขอบกระเป๋า

ฝากระเป๋าที่ติดบนเสื้อ

กระเป๋าเจาะแนวแทยง

Lining

Full lining

ซับในเต็มตัว

One quarter lining

ซับในเฉพาะชิ้นหน้าและบ่าหลัง

 
ปัจจุบันเสื้อเทเลอร์ ผ้าเสริมในตัวเสื้อ (UNDERLINING) และผ้ารองใน (INTERFACING) จะใช้ผ้าประเภทเดียวกัน คือ เป็นผ้าสำเร็จรูป เป็นผ้าที่ฉาบกาวใช้ได้สะดวกและรวดเร็ว ประหยัดเวลาในการทำงาน แต่ผ้าที่ไม่ฉาบกาวเป็นผ้ารองในที่ยังต้องใช้วิธีการปูผ้าให้เรียบเนาติดตั้งชิ้นแล้วจึงเย็บติดกันตามตะเข็บโดยรอบก็ยังมีใช้อยู่บ้าง

ผ้าที่ใช้เสริมรูปทรงในตัวเสื้อ และผ้ารองในมีทั้งแบบเป็นผ้าทอ (WOVEN FABQICS) และผ้าไม่ได้ทอ (NONWOVEN FABQICS) บางชนิดมีกาว และไม่มีกาว มีความหนาบางให้เลือกได้ตามความเหมาะสม การตัดผ้ารองในด้วยผ้าทอจะต้องตัดผ้าตามเกรนผ้าตัวนอก เช่น ชิ้นปกที่ตัดด้วยผ้าเกรนตรง ผ้ารองในก็ต้องตัดเป็นเกรนตรงด้วย แต่ถ้าเป็นผ้าไม่ทอจะวางผ้าตามเกรนใดก็ได้
 
ผ้ารองในแบบทอและไม่ทอ แบบไม่มีกาวจะใช้วิธีเนา และเย็บติดกันตามตะเข็บ แต่ผ้าชนิดมีกาวจะใช้วิธีติดกับผ้าชิ้นนอกด้วยวิธีการรีดด้วยความร้อนสูง การเลือกใช้ผ้าแบบมีกาว และไม่มีกาว ขึ้นอยู่กับความต้องการของแต่ละคน สำหรับแบบไม่มีกาว เหมาะสำหรับงานที่ทำด้วยมืออย่างประณีต ส่วนแบบมีกาวจะทำงานได้รวดเร็วและง่าย ทั้งยังมีความแข็งแรง อย่างไรก็ตามเนื้อผ้าบางประเภทบอบบางไม่สามารถใช้ความร้อนกับผ้าได้ ก็ยังจำเป็นที่จะต้องใช้ผ้าแบบไม่มีกาว
 
ประเภทของผ้ารองในหรือผ้าที่ใช้เสริมรูปทรง แบ่งได้ดังนี้
               1. FUSIBLE WOVEN เป็นผ้ารองในแบบผ้าทอเนื้อหนา เมื่อรีดติดกับผ้าชิ้นนอกจะทำให้มีความแข็ง และความหนาเพิ่มขึ้น
               2. FUSIBLE NONWOVEN เป็นผ้ารองในแบบไม่ทอ มีทั้งหนาและบาง เป็นผ้าที่ใช้ได้คงทนจะตัดตามเกรนใดก็ได้ มีกาวใช้รีดติดกับผ้าชิ้นนอก
               3. FUSIPLE KNIT เป็นผ้าทอแบบนิตติ้งทำจากใยไนลอน ใช้ได้ทั้งผ้าตามยาว หรือผ้าตามขวางมีน้ำหนักเบา
               4. SEW-IN WOVEN เปาผ้ารองในแบบทอลายขัด ไม่มีกาว ต้องใช้วิธีการเนา และเย็บติดรอบตะเข็บ มักใช้กับผ้าที่เป็นรูปทรงธรรมชาติ ใช้ได้ตั้งแต่ผ้าที่มีน้ำหนักเบาอย่างออร์แกนซา จนถึงผ้าที่มีเนื้อผ้าอย่างผ้าใบ เป็นต้น
               5. SEW-IN NONWOVEN เป็นผ้ารองในแบบไม่ทอ
               6. FUSIBLE WEB เป็นผ้ารองในแบบละลายติดกับเนื้อผ้า เหมาะที่จะใช้กับผ้าชิ้นนอกประกบกัน 2 ชิ้น เช่น ใช้ติดแนวพับปลายขากางเกง ทำให้ไม่ต้องสอยชายกางเกง
               7. NONWOVEN FUSIBLE WAISTBANDING เป็นผ้าไม่ทอ ใช้รีดติด เป็นผ้าที่ใช้กับขอบเอว สะดวกในการใช้ทำให้ขอบมีความหนา พับทบได้ตามรอยตัด
               8. WOVEN SEW-IN WAISTBANDING เป็นผ้าทอแบบเนื้อแข็งเหมาะที่จะใช้ทำขอบกระโปรง หรือกางเกง ทำให้ขอบมีความแข็งแรงได้รูปทรง ต้องเย็บติดกับผ้าที่ใช้ทำขอบเอว
 

Piping

กุ้นขอบ

Facing Silk

ผ้ารองใน

Hemline

ขอบหรือชายด้านล่างของเสื้อผ้า

Stitching Edge

ด้นตะเข็บริมผ้า

Elbow patch

ผ้าปะข้อศอกเพื่อเสริมความแข็งแรง


Buttons & Botton holes กระดุมและรังดุม

  1. Tub-shaped two holes

  2. Platter-shaped four holes

  3. Flat-shaped / One-bar hole

  4. Bowl-shaped Fake hole

  1. Convex button

  2. Semi-convexbutton

  3. Concave button

  4. Flat button

[ซ้าย] กระดุมไม่มีก้าน  คือ  กระดุมมีรู  มีลักษณะเป็นรูปกลม  อาจมี  2  รู หรือ  4  รู  ปรากฏให้เห็นบนเม็ดกระดุม  เป็นส่วนที่ใช้เย็บติดกับเสื้อผ้า มักใช้กับเสื้อผู้ชาย  เช่น  เสื้อเชิ้ต  เสื้อยืด  กระดุมชนิดนี้เย็บแล้วจะมองเห็นเส้นด้ายที่เย็บ

[ขวา] กระดุมมีก้าน  กระดุมชนิดนี้จะมีก้านอยู่ใต้เม็ดกระดุม  ซึ่งจะช่วยไม่ให้เม็ดกระดุมกดรังดุม  กระดุมชนิดนี้จะไม่เห็นเส้นด้ายปรากฏบนเม็ดกระดุม  กระดุมมีก้านทำด้วยโลหะและพลาสติก  มีลวดลายสีสันสวยงาม

  1. รังดุมกุ๊น

  2. รังดุมเจาะ

c/d. รังกระดุมแบบหัวกุญแจ เหมาะสำหรับการเย็บถักรังกระดุมกางเกงยีนส์-เสื้อสูท

  1. Toggle กระดุมแท่งทำจากไม้หรือเขาสัตว์

  2. Covered button

  3. Snap กระดุมแป๊บ

  4. Dot button

การทำรังดุมมี  3  แบบ  คือ  รังดุมห่วง  รังดุมเจาะ และรังดุมกุ๊น  

รังดุมที่นิยมใช้ได้แก่  รังดุมเจาะ  ซึ่งเย็บริมโดยวิธีถัก  สามารถทำได้ด้วยมือและด้วยจักร

Toggle กระดุมรูปแท่ง มักทำจากไม้หรือเขาสัตว์ ติดด้วยห่วงเชือกที่ด้านหนึ่งของเสื้อผ้าและดึงผ่านห่วงที่คล้ายกันของด้านตรงข้าม

Snap กระดุมแป๊บ  ทำด้วยโลหะ  มีลักษณะต่างไปจากกระดุมธรรมดา  คือ ประกอบด้วย ฝาบนซึ่งมีปุ่มนูนตรงกลาง  และตัวรับซึ่งตรงกลางเป็นแอ่ง ต้องใช้คู่กันทำให้ประกอบกันสนิท  กระดุมแป๊บเป็นเครื่องเกาะเกี่ยวที่ใช้ติดกับระยะเปิดสั้น ๆ ไม่เหมาะที่จะใช้กับสาบเปิดของเสื้อผ้ายาว ๆ ส่วนเปิดของเสื้อผ้าที่ควรใช้กระดุมแป๊บ  เช่น  ติดที่มุมตอนบนและตอนล่างของสาบเสื้อ ติดระหว่างรังดุมถักหรือรังดุมเจาะตามขวางที่มีระยะห่าง  ติดสาบเปิดข้อมือเสื้อสตรีแขนยาวหรือติดปกเสื้อที่ถอดได้


อ้างอิง
Tain, L. (1998). Portfolio presentation for fashion designers. New York: Fairchild Publications.
Takamura, Z. (1993). Fashion with style. Tokyo: Graphic-sha Publishing Co., Ltd.
Drudi, E. and Paci, T. (2001). Figure drawing for fashion design. Amsterdam: The Pepin Press.
Davis, M. (1996). Visual design in dress. New Jersey: Prentice-Hall, Inc.
Blog การตัดเย็บเบื้องต้น http://writer.dek-d.com/jantana59/story/view.php?id=689654
ความรู้เรื่องเสื้อสูทแบบเทเลอร์ http://www.thecentergr.com/

-