หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกรกฎาคม 2566

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกรกฎาคม 2566

กลับหน้าหลัก
01.09.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 16630

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกรกฎาคม 2566 

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 487.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 319.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.0 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 167.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.6 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 396.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.7 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 248.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.2 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 148.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.8 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 90.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) 7 เดือน (เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 3,526.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 2,335.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.2 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,190.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.2 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) 7 เดือนของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 2,942.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 1,922.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.2 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,019.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.6 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 584.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก 

เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า การส่งออกทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ปรับตัวลดลงในทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และปรับตัวลดลงเกือบทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) ยกเว้นการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (Yarn) ในเดือนนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 83.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่เมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกาและจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.6 และ 114.4 ขณะที่การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ของไทยไปยังตลาดอินเดียในเดือนนี้ พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 52.3  

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 597.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 8.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 4.2 ขณะที่การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไทยไปยังตลาดจีนและปากีสถาน พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 41.3 และ 20.6 

ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 40.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 29.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเส้นด้ายไปยังตลาดญี่ปุ่นและอินเดีย ปรับตัวลดลงร้อยละ 34.8 และ 5.7 ขณะที่การส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดจีนในเดือนนี้ พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 291.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 34.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และอินเดีย ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 18.7, 19.9 และ 21.6 ตามลำดับ

ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 76.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 24.7 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.5, 33.3 และ 27.7 ตามลำดับ

และการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 605.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 22.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลงเช่นกัน ได้แก่ เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 24.6, 11.2 และ 34.9 ตามลำดับ

ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 167.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.1, 15.6 และ 23.2 ตามลำดับ   

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,190.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 15.2 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ปรับตัวลดลง ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 23.2, 5.4 และ 24.6 ตามลำดับ

ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก

เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า การนำเข้าของทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ นำเข้าลดลงในเกือบทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) คือ เส้นด้ายและผ้าผืน ขณะที่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่ม พบว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และเมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 112.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 32.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้าหลัก 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าเส้นด้ายลดลงจากตลาดจีน ญี่ปุ่น และสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 34.1, 4.8 และ 51.0 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 896.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 18.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้า 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าลดลงจากตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา ลดลง (สะสม) ร้อยละ 18.1 และ 32.6 ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายของไทยจากตลาดญี่ปุ่น (สะสม) 7 เดือน พบว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 

ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 135.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้าหลัก 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าผ้าผืนลดลงจากตลาดจีนและไต้หวัน ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.8 และ 40.3 ขณะที่การนำเข้าผ้าผืนของไทยจากตลาดเวียดนามในเดือนนี้ พบว่า  นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.9 

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 1,026.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 18.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยตลาดนำเข้าผ้าผืน 3 อันดับแรกปรับตัวลดลง ได้แก่ จีน เวียดนาม และไต้หวัน ปรับตัวลดลง (สะสม) เช่นกันที่ร้อยละ 18.0, 10.2 และ 39.8 ตามลำดับ

ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 110.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากตลาดนำเข้าใน 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.9, 19.1 และ 30.2 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 739.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 20.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) เช่นกันที่ร้อยละ 9.9, 31.5 และ 31.7 ตามลำดับ

ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการส่งออกในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้

การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ในภาพรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 24.0 แต่การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ของไทยไปยังตลาดจีนและอินเดีย พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.4 และ 46.9

การส่งออกเส้นด้ายในภาพรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.0 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดจีนและอินเดีย พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 6.1 และ 31.5 แต่การส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่น พบว่า ลดลงร้อยละ 25.9

สำหรับการส่งออกผ้าผืนในภาพรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ลดลงร้อยละ 10.7, 8.6 และ 11.4 ตามลำดับ

และการส่งออกเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดญี่ปุ่น ลดลงร้อยละ 8.4 แต่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มของไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและเบลเยียม พบว่า เพิ่มขึ้นร้อยละ 0.04 และ 27.2

ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการนำเข้าในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้ 

การนำเข้าเส้นด้ายในภาพรวมเดือนนี้ นำเข้าลดลงร้อยละ 3.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดญี่ปุ่นและสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 3.2 และ 8.0 ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายของไทยจากตลาดจีนในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 3.1 

การนำเข้าผ้าผืนในภาพรวมเดือนนี้ นำเข้าลดลงร้อยละ 1.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาดจีนและไต้หวัน ลดลงร้อยละ 0.5 และ 17.1 ขณะที่การนำเข้าผ้าผืนของไทยจากตลาดเวียนดนามในเดือนนี้ เพิ่มขึ้นร้อยละ 17.7 

และการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มในภาพรวมทรงตัว โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.01 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน เพิ่มขึ้นร้อยละ 9.1 แต่การนำเข้าเครื่องนุ่งห่มจากตลาดอิตาลีและเวียดนามในเดือนนี้ พบว่า ลดลงร้อยละ 4.1 และ 22.2

ทั้งนี้ การนำเข้าที่ลดลงของวัตถุดิบในการผลิต (เส้นด้ายและผ้าผืน) คาดว่า อาจส่งผลต่อการผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มภายในประเทศที่ลดลง และอาจส่งผลให้การบริโภตอ่อนแอด้วยเช่นกัน

ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนกรกฎาคม 2566 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566

สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกรกฎาคม 2566 มีมูลค่า 487.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.3 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยเป็นการปรับตัวลดลงตลอด Supply Chain ของอุตสาหกรรม (ติดต่อกันเป็นเดือนที่ 9) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกในเดือนดังกล่าว พบว่า ปรับตัวลดลงในเกือบทุกตลาด ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดจีน พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 20.3

และภาพรวมการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) 7 เดือน (เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2566) ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.5 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะเดียวกันตลาดส่งออกสำคัญ ใน 5 อันดับแรก พบว่า การส่งออกไปยังตลาดจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.2

-------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

-------------------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

1 กันยายน 2566

นำเข้าส่งออกสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Import, Export, Textile, Clothing, ปี 2566, เดือนกรกฎาคม, สะสม, 7 เดือน, เดือนมกราคม-กรกฎาคม, THTI