หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมกราคม 2566

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมกราคม 2566

กลับหน้าหลัก
09.03.2566 | จำนวนผู้เข้าชม 20439

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนมกราคม 2566 

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 463.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 310.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 12.7 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 153.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.1 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 460.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 5.6 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 307.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.1 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 153.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 โดยภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 2.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก 

เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า การส่งออกทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ปรับตัวลดลงในเกือบทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และลดลงในทุกผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) 

ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนมกราคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 75.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.4 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.4, 92.8 และ 38.7 ตามลำดับ  

ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนมกราคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 42.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 35.9 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเส้นด้ายไปยังตลาดญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.0, 31.7 และ 7.3 ตามลำดับ

ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนมกราคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 87.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 13.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนามและบังกลาเทศ ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.3 และ 22.6 ขณะที่การส่งออกผ้าผืนไทยไปยังตลาดเมียนมาในเดือนนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.8

ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนมกราคม 2566

การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 153.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดส่งออกหลัก 3 อันดับแรก พบว่า การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 29.8 และ 46.0 ขณะที่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดญี่ปุ่นในเดือนนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2

ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก

เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า การนำเข้าของทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ นำเข้าเพิ่มขึ้นในทุกรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) แต่นำเข้าลดลงในบางรายการผลิตภัณฑ์เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนมกราคม 2566

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 138.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้าหลัก 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าเส้นด้ายลดลงจากตลาดจีน ลดลงร้อยละ 14.4 ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายในเดือนนี้ นำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดออสเตรเลียและญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 67.8 และ 21.8

ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนมกราคม 2566

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 168.6 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 16.1 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาตลาดนำเข้าหลัก 3 อันดับแรก พบว่า นำเข้าผ้าผืนลดลงจากตลาดจีน เวียดนาม และไต้หวัน ปรับตัวลดลงร้อยละ 20.7, 6.4 และ 25.2 ตามลำดับ

ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนมกราคม 2566

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมกราคม 2566 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 110.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 28.6 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากตลาดนำเข้าใน 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.6, 45.9 และ 20.9 ตามลำดับ

ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมกราคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการส่งออกในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้

การส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ในภาพรวม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ไทยไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา อินเดีย และจีน ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.2, 26.6 และ 9.4 ตามลำดับ

การส่งออกเส้นด้ายในภาพรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 4.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเส้นด้ายของไทยไปยังตลาดญี่ปุ่น อินเดีย และจีน ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.0, 15.6 และ 30.3 ตามลำดับ

สำหรับการส่งออกผ้าผืนในภาพรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเวียดนามและบังกลาเทศ ปรับตัวลดลงร้อยละ 20.9 และ 4.9

และการส่งออกเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม ปรับตัวลดลงร้อยละ 11.6 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา และเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.6 และ 17.9 

ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนมกราคม 2566 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการนำเข้าในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้ 

การนำเข้าเส้นด้ายในภาพรวมเดือนนี้ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 9.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน และญี่ปุ่น เพิ่มขึ้นร้อยละ 21.7 และ 8.4 

การนำเข้าผ้าผืนในภาพรวมเดือนนี้ นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน เวียดนาม และไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 20.5, 50.0 และ 19.0 ตามลำดับ

และการนำเข้าเครื่องนุ่งห่มในภาพรวม นำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 1.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) แต่หากพิจารณาในรายตลาดนำเข้าหลักใน 3 อันดับแรก พบว่า มีการนำเข้าลดลงจากตลาดจีน อิตาลี และเวียดนาม นำเข้าลดลงร้อยละ 0.2, 16.9 และ 9.0 ตามลำดับ

ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนมกราคม 2566

สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนมกราคม 2566 มีมูลค่า 463.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 14.2 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว พบว่า ปรับตัวลดลงในเกือบทุกตลาด ยกเว้นการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นที่ในเดือนนี้ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.1 

ทั้งนี้ คาดการณ์มูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มของไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2566 จะปรับตัวลดลง ซึ่งเป็นผลจากการชะลอตัวของเศรษฐกิจโลกและการชะลอตัวของประเทศคู่ค้าสำคัญของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ซึ่งคาดว่าจะส่งผลให้มูลค่าการส่งออกในเดือนถัดไปจะปรับตัวลดลงในเชิงมูลค่า เมื่อเทียบกับเดือนมกราคม 2566

-------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

-------------------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

9 มีนาคม 2566

นำเข้าส่งออกสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Import, Export, Textile, Clothing, ปี 2566, เดือนมกราคม, สะสม, 1 เดือน, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66