หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / กฎระเบียบด้านภาษีและการนำเข้าและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ของอุตสาหกรรมรองเท้าในโคลอมเบีย

กฎระเบียบด้านภาษีและการนำเข้าและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ของอุตสาหกรรมรองเท้าในโคลอมเบีย

กลับหน้าหลัก
06.12.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 210

กฎระเบียบด้านภาษีและการนำเข้าและเขตเศรษฐกิจพิเศษ ของอุตสาหกรรมรองเท้าในโคลอมเบีย

โคลอมเบียมีการจัดทำความตกลงการค้าเสรีและความตกลงทางการค้า รวม 18 ฉบับ ทำให้การนำเข้าวัตถุดิบ สำหรับการผลิตสินค้ารองเท้าและการนำเข้าสินค้ารองเท้าจากประเทศคู่ภาคีดังกล่าว ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าตามเงื่อนไขของความตกลงที่โคลอมเบียจัดทำกับประเทศคู่ภาคี

กระบวนการนำเข้า

หน่วยงานศุลกากรของโคลอมเบียกำหนดให้การนำเข้าสินค้าจะต้องมีเอกสารประกอบการนำเข้า ดังต่อไปนี้  

1) บัญชีราคาสินค้า (Commercial Invoice)  

2) ใบรับรองถิ่นกำเนิดสินค้า (Certificate of Origin)  

3) ในตราส่งสินค้า (Bill of Lading or Air Waybill)  

4) บัญชีรายละเอียดบรรจุหีบห่อ (Packing List) (หากจำเปน) 

5) ใบสำแดงราคา (Value declaration)  

6) เอกสารอื่น ๆ (เช่น คุณลักษณะของวัตถุดิบ)

การเก็บภาษี

โคลอมเบียจัดเก็บภาษีศุลกากรสำหรับสินค้านำเข้า ที่อัตราร้อยละ 19 อย่างไรก็ดีการเก็บภาษีนำเข้าของสินค้าหรือบริการบางประเภท มีการจัดเก็บที่อัตราร้อยละ 0 – 5 โดยการจัดเก็บภาษีแบ่งออกเป็น 3 ระดับ ได้แก่

กลุ่มที่ 1 การจัดเก็บที่อัตราร้อยละ 0-5 สำหรับการนำเข้าสินค้าทุน สินค้าอุตสาหกรรม และวัตถุดิบสำหรับการผลิตในประเทศ

กลุ่มที่ 2 การจัดเก็บที่อัตราร้อยละ 10 สำหรับ manufactured goods

กลุ่มที่ 3 การจัดเก็บที่อัตราร้อยละ 15-20 สำหรับสินค้าเพื่อการบริโภคและสินค้าอ่อนไหว

ทั้งนี้ ภาษีศุลกากรที่จัดเก็บประกอบด้วย ภาษีมูลค่าเพิ่มและค่าธรรมเนียม ซึ่งจะอยู่ในช่วงอัตราร้อยละ 0 – 20 ซึ่งสินค้าบางประเภทอาจมีการจัดเก็บที่สูงกว่าอัตราดังกล่าว และการสำแดงการนำเข้ามีอายุ 3 ปี

สินค้ารองเท้า พิกัดศุลกากร 6401 – 6405 ที่นำเข้าจากต่างประเทศ จะถูกเก็บภาษีร้อยละ 15 และภาษีมูลค่าเพิ่มร้อยละ 19

กฎระเบียบพิเศษสำหรับการนำเข้าและส่งออกของโคลอมเบีย

สินค้าและบริการที่ผลิตหรือประกอบในพื้นที่เขตการค้าเสรี (Free Trade Zones: FTZ) จะได้รับสิทธิประโยชน์จากการยกเว้นการเก็บภาษีและสิทธิประโยชน์ต่าง ๆ อาทิ การยกเว้นการเก็บภาษีศุลกากร และภาษีมูลค่าเพิ่มในการนำเข้าวัตถุดิบเพื่อการผลิตใน FTZ นักลงทุนสามารถจัดตั้งโรงงานในพื้นที่ฯ โดยไม่มีระยะเวลาสิ้นสุด เป็นต้น เพื่อดึงดูดการลงทุนจากต่างประเทศในการผลิตสินค้าและบริการเพื่อการส่งออก รวมทั้งประโยชน์ด้าน การถ่ายทอดเทคโนโลยีและการสร้างงานในประเทศ โคลอมเบียทมีพื้นที่ FTZ อยู่ใน 12 เมือง ได้แก่ Bogotá, Rionegro (Medellín), Pacific (Cali), La Candelaria (Cartagena), Quindio, Santa Marta, Cúcuta, Barranquilla, Cartagena, Palmaseca (Cali) and Arauca

----------------------------------------

ที่มา : สำนักงานส่งเสริมการค้าในต่างประเทศ ณ กรุงซันติอาโก, กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ DITP, กระทรวงพาณิชย์

กฎระเบียบเครื่องหนัง, อุตสาหกรรม, เครื่องหนังรองเท้า, โคลอมเบีย, ภาษี, การนำเข้า, เขตเศรษฐกิจพิเศษ DITP