หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกรกฎาคม 2565

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกรกฎาคม 2565

กลับหน้าหลัก
09.09.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 20532

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกรกฎาคม 2565 

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 575.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 371.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.4 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 203.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 476.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.5 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 331.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 19.0 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 144.7 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 14.2 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 99.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

และภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) 7 เดือน (เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 4,127.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แบ่งเป็น (1) การส่งออก (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 2,720.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 13.6 และ (2) การส่งออก (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,407.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 7.7 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) 7 เดือนของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 3,282.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.9 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 2,356.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 17.6 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 926.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 0.4 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้า (สะสม) เกินดุล คิดเป็นมูลค่า 845.0 ล้านดอลลาร์สหรัฐ

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก 

เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ ปรับตัวลดลงเมื่อเปรียบเทียบกับเดือนที่ผ่านมา (MoM) แต่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นเกือบทุกผลิตภัณฑ์ ยกเว้นการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.8 (YoY)

ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 96.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 23.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น คือ อินเดีย และอินโดนีเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 154.1 และ 3.2 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาในเดือนนี้ (กรกฎาคม 2565) พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.9

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 651.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 23.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา อินโดนีเซีย และอินเดีย ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 13.1, 30.3 และ 80.4 ตามลำดับ

ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 56.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้ายไปยังตลาดจีนในเดือนนี้ (กรกฎาคม 2565) พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 25.0 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้ายไปยังตลาดญี่ปุ่นและโคลัมเบีย พบว่า ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.5 และ 35.4 

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 444.8 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 15.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ ญี่ปุ่น จีน และบังกลาเทศ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 18.8, 4.2 และ 45.5 ตามลำดับ

ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 102.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดหลัก 3 อันดับแรก ได้แก่ เมียนมาและกัมพูชา ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 163.7 และ 19.0 

และการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 782.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 17.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน ได้แก่ เวียดนาม กัมพูชา และเมียนมา ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 7.0, 41.1 และ 61.0 ตามลำดับ 

ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 203.5 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.0 และ 21.1 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดเบลเยียม ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.7

และการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการส่งออกรวม 1,407.1 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 7.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและตลาดญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 18.3 และ 2.8

ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก

เมื่อพิจารณามูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า การนำเข้ามีการปรับตัวลดลงในทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ เมื่อเปรียบเทียบกับที่ผ่านมา (MoM) ขณะที่หากเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ดังกล่าว

ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 166.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 34.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากตลาดนำเข้าใน 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน ออสเตรเลีย และสหรัฐอเมริกา นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 43.7, 308.3 และ 32.7 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 1,103.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 26.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน สหรัฐอเมริกา และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 29.6, 35.6 และ 34.8 ตามลำดับ

ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

การนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 165.3 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าผ้าผืนเพิ่มขึ้นจากตลาดจีนและไต้หวัน เพิ่มขึ้นร้อยละ 13.8 และ 21.6

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 1,253.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 10.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นจากตลาดจีนและไต้หวัน นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 15.3 และ 33.8

ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2565 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 99.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 49.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากตลาดนำเข้าใน 3 อันดับแรกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้น ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 29.3, 112.4 และ 34.1 ตามลำดับ

และการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม (สะสม) 7 เดือน พบว่า มีมูลค่าการนำเข้ารวม 617.2 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 10.6 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในตลาด 3 อันดับแรกเช่นเดียวกัน ได้แก่ จีน อิตาลี และเวียดนาม นำเข้าเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 3.9, 62.0 และ 9.8 ตามลำดับ

ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาด 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการส่งออกในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้

ผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 5.8 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดอินเดีย สหรัฐอเมริกา และอินโดนีเซีย ที่ในเดือนนี้ ปรับตัวลดลงร้อยละ 6.6, 24.6 และ 11.8 ตามลำดับ 

ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 2.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้ายไปยังตลาดญี่ปุ่นในเดือนนี้ (กรกฎาคม 2565) พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 7.9 ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้ายไปยังตลาดจีนและโคลัมเบีย ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 10.7 และ 24.9 

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงร้อยละ 11.9 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ปรับตัวลดลงร้อยละ 17.9, 14.4 และ 23.8 ตามลำดับ

และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการส่งออกปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 5.7 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ปรับตัวลดลงร้อยละ 18.0 ขณะที่การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดญี่ปุ่นและเบลเยียม ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 22.1 และ 14.2

ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)

และมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนกรกฎาคม 2565 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ โดยมีรายละเอียดในภาพรวมของการนำเข้าในแต่ละผลิตภัณฑ์มีดังนี้ 

ผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า มูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 9.1 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าจากตลาดจีนและสหรัฐอเมริกา ลดลงร้อยละ 5.0 และ 23.9 ขณะที่การนำเข้าเส้นด้ายจากตลาดออสเตรเลียในเดือนนี้เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า นำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 86.6

ผลิตภัณฑ์ผ้าผืน พบว่า มูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 9.4 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าลดลงจากตลาด 3 อันดับแรก ได้แก่ จีน ไต้หวัน และเวียดนาม ปรับตัวลดลงร้อยละ 10.7, 1.1 และ 6.6 ตามลำดับ

และผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม พบว่า มูลค่าการนำเข้าปรับตัวลดลงร้อยละ 0.2 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยนำเข้าเครื่องนุ่งห่มลดลงจากตลาดจีน อิตาลี และเวียดนาม ลดลงร้อยละ 6.5, 2.4 และ 10.1 ตามลำดับ 

ภาพที่ 13 สรุปภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ (5 อันดับแรก) เดือนกรกฎาคม 2565 และ (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565

สรุปภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกรกฎาคม 2565 มีมูลค่า 575.4 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาในภาพรวมมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดสำคัญ ใน 5 อันดับแรก จัดเรียงตามมูลค่าการส่งออกที่ขยายตัวเพิ่มขึ้นในเดือนดังกล่าว พบว่า การส่งออกเครื่องนุ่งห่มไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและญี่ปุ่น ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.5 และ 10.1 ขณะที่การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดเวียดนาม จีน และอินโดนีเซียในเดือนนี้ เมื่อเปรียบเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) พบว่า ปรับตัวลดลงร้อยละ 1.4, 14.9 และ 0.7 ตามลำดับ

ขณะที่ภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย (สะสม) เดือนมกราคม-กรกฎาคม 2565 มีมูลค่าการส่งออกรวม 4,127.9 ล้านดอลลาร์สหรัฐ ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 11.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) โดยตลาดส่งออกใน 5 อันดับแรก มีการขยายตัวเพิ่มขึ้นในเกือบทุกตลาด ยกเว้นตลาดจีนที่ปรับตัวลดลง (สะสม) ร้อยละ 3.1 แต่การส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม และอินโดนเซีย ขยายตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) ร้อยละ 15.0, 5.8, 7.4 และ 19.8

ประเด็นที่ต้องติดตาม

จากสภาวะเศรษฐกิจโลกที่ส่งสัญญาณชะลอตัว โดยเป็นผลสืบเนื่องจาก 1) Headwind จากสงครามรัสเซียและยูเครนที่ยืดเยื้อ ในมิติผลกระทบจากข้อพิพาทดังกล่าวที่มีต่อไทย ในเรื่องของราคาน้ำมันที่พุ่งสูงขึ้น ซึ่งกลายเป็นต้นทุนค่าขนส่งที่เพิ่มสูงขึ้นในทุกกลุ่มอุตสาหกรรมของไทย 2) ความกังวลเกี่ยวกับต้นทุนราคาสินค้าที่สูงขึ้นและภาวะเงินเฟ้อที่เกิดขึ้นไปทั่วโลก 3) การขาดแคลนสินค้าวัตถุดิบสำคัญใน supply chain ของอุตสาหกรรมสิ่งทอในระดับกลางน้ำ (เส้นด้ายและผ้าผืน) และ 4) การชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ที่เป็นผลจากความเข้มงวดในการรับมือกับการระบาด covid-19 อย่างนโยบาย zero covid ที่คาดว่าอาจจะฉุดให้ GDP ของจีนในปีนี้ต่ำกว่าเป้าที่ประมาณการณ์ไว้ (5.5%) และยังส่งผลกระทบในด้านการขนส่งสินค้า วัตถุดิบ และเกิดเป็นวิกฤต Supply Chain ที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน

จาก 4 ปัจจัยดังกล่าว คาดการณ์ว่าอาจส่งผลกระทบต่อการส่งออกของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยในช่วงที่เหลือของปี 2565 โดยเฉพาะชะลอตัวของเศรษฐกิจจีน ที่อาจจะกระทบต่อภาคการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ทั้งนี้ หากพิจารณาจากตัวเลขการส่งออกอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทยไปยังตลาดจีน ในเดือนกรกฎาคม 2565 และ(สะสม) 7 เดือน พบว่า มีการปรับตัวลดลงทั้งในเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ร้อยละ-14.9%YoY และปรับตัวลดลง (สะสม) 7 เดือน ที่ร้อยละ -3.1%YoY 

และจากนโยบาย zero covid ของจีน ได้ส่งกระทบต่อการขนส่งสินค้าและวัตถุดิบ โดยการส่งออกเส้นใยประดิษฐ์ของไทยไปยังตลาดจีนมีการปรับตัวลดลงด้วยเช่นกัน จึงทำให้ไทยหันไปส่งออกสินค้าดังกล่าวไปยังตลาดอื่น ๆ เพิ่มมากขึ้น (ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2565) สำหรับตลาดจีนนั้นนับเป็นตลาดหลักที่สำคัญในการนำเข้าสินค้าวัตถุดิบ (ในระดับกลางน้ำ) อย่างเส้นด้ายและผ้าผืน และรวมถึงสินค้าปลายน้ำอย่างเสื้อผ้าสำเร็จรูปของไทย

ขณะที่เมื่อพิจารณาดัชนีราคาผู้ผลิตในเดือนกรกฎาคม 2565 ของกลุ่มสิ่งทอ (ทั้งสิ่งทอจากฝ้าย (ด้าย/ผ้า) สิ่งทอจากใยสังเคราะห์ (เส้นใย/ด้าย/ผ้า) และผ้าดิบ) พบว่า มีการปรับราคาสูงขึ้นตามราคาวัตถุดิบและต้นทุนค่าใช้จ่ายในการผลิตอื่น ๆ โดยสิ่งทอ +4.4%YoY และเครื่องนุ่งห่ม +1.8%YoY ซึ่งกดดันถึงกำไรของผู้ผลิตสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มในประเทศ

และการปรับอัตราค่าจ้างขั้นต่ำใหม่ (ปี 2565) ซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อโครงสร้างต้นทุนผู้ผลิตสิ่งทอเครื่องนุ่งห่มในประเทศ โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมการผลิตกลุ่มเครื่องนุ่งห่มที่มีการใช้แรงงานเข้มข้น ซึ่งจะประกาศบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 ตุลาคม 2565

-------------------------------------------------

ข้อมูลอ้างอิง : 

        ศูนย์เทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร สำนักงานปลัดกระทรวงพาณิชย์

        กองดัชนีเศรษฐกิจการค้า สำนักงานนโยบายและยุทธศาสตร์การค้า กระทรวงพาณิชย์

        กระทรวงแรงงาน

        Global Trade Atlas

-------------------------------------------------

จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

9 กันยายน 2565

นำเข้าส่งออกสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Import, Export, Textile, Clothing, ปี 2565, เดือนกรกฎาคม, สะสม, 7 เดือน, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'66