หน้าแรก / THTI Insight / องค์ความรู้ / Carbon Footprint ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

Carbon Footprint ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

กลับหน้าหลัก
08.04.2565 | จำนวนผู้เข้าชม 490

Carbon Footprint ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ

บทนำ

จากข้อมูลจากสำนักงานพลังงานสากล (IEA) โลกของเรามีการปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์เพิ่มขึ้นทุก ๆ ปี และแม้ว่าในปี 2563 การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์จะลดลงมากที่สุดเมื่อเทียบรายปี จากเกิดการแพร่ระบาดของโรคโควิด-19 ที่ทำให้เศรษฐกิจและกิจกรรมต่าง ๆ ต้องหยุดชะงักลง แต่ข้อมูลคาดการณ์ล่าสุดของปี 2564 พบว่า การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ได้กลับมาเพิ่มเกือบเท่ากับระดับของปี 2562 ซึ่งไม่ใช่สัญญาณที่ดี

คณะกรรมการระหว่างรัฐบาลว่าด้วยการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ (Intergovernmental Panel on Climate Change หรือ IPCC) หน่วยงานชั้นนำของโลกด้านวิทยาศาสตร์ภูมิอากาศ ได้ประเมินผลที่มีต่อโลกจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส โดยพบว่าความเสียหายที่เกิดจากอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส กับ 2 องศาเซลเซียสนั้น แตกต่างกันมาก และสรุปได้ว่าอุณหภูมิที่ต่ำกว่านั้น มีความปลอดภัยกว่ามาก แม้อุณหภูมิเพิ่มขึ้น 1.5 องศาเซลเซียส ก็ยังคงส่งผลให้ระดับน้ำทะเลสูงขึ้น แนวปะการังฟอกสี และการเพิ่มขึ้นของคลื่นความร้อน ภัยแล้ง น้ำท่วม พายุที่รุนแรง และรูปแบบอื่น ๆ ของสภาพอากาศที่รุนแรง แต่จะน้อยกว่าผลของอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น 2 องศาเซลเซียส ที่สำคัญคือ ยังพบว่า ทุก ๆ ระดับของการเพิ่มขึ้นของอุณหภูมิมีความสำคัญ ปัจจุบันอุณหภูมิทั่วโลกอยู่เหนือระดับก่อนยุคอุตสาหกรรมประมาณ 1.1-1.2 องศาเซลเซียส และการปล่อยก๊าซเรือนกระจกยังคงมีแนวโน้มสูงขึ้น การปล่อยก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ลดลงในช่วงล็อกดาวน์จากการแพร่ระบาดของโควิด-19 เมื่อปีที่แล้ว แต่เป็นเพียงชั่วคราวและเพิ่มขึ้นอีกครั้งนับตั้งแต่เศรษฐกิจฟื้นตัว โดยการปล่อยมลพิษทั่วโลกต้องลดลงประมาณร้อยละ 7 ต่อปีในทศวรรษนี้ เพื่อให้อุณหภูมิเพิ่มขึ้นไม่เกิน 1.5 องศาเซลเซียส หากไม่ลดการปลดปล่อยคาร์บอน วงจรวิกฤตนี้ก็จะดำเนินต่อไปเรื่อย ๆ IPCC สรุปว่ายังมีโอกาสที่โลกจะอยู่ภายในเกณฑ์ 1.5 องศาเซลเซียส แต่จะต้องใช้ความพยายามร่วมกัน

รายละเอียดเพิ่มเติมตามไฟล์แนบ_'Carbon Footprint ในอุตสาหกรรมสิ่งทอ'

สนับสนุน โดย สำนักงานเศรษฐกิจอุตสาหกรรม (สศอ.) กระทรวงอุตสาหกรรม

เรียบเรียง : สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ, ศูนย์ข้อมูลฯ (แผนกข้อมูลอุตสาหกรรม)

ภายใต้โครงการศูนย์สารสนเทศอัจฉริยะอุตสาหกรรมแฟชั่น (อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม เครื่องหนังและรองเท้า อัญมณีและเครื่องประดับ) ประจำปี พ.ศ.2565

Textile Garment Profile, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Carbon Footprint, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU, FIU_'65