หน้าแรก / THTI Insight / ข้อมูล นำเข้า-ส่งออก / สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤศจิกายน 2563

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤศจิกายน 2563

กลับหน้าหลัก
04.01.2564 | จำนวนผู้เข้าชม 13395

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนพฤศจิกายน 2563 

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 467.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 305.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.3 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 162.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 21.7 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 374.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 234.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 12.6 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 139.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 16.6 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 93.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว (สะสม) 11 เดือน (มกราคม - พฤศจิกายน 2563) พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 5,225.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.9 แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 3,289.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 18.0 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,936.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 17.7 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) ของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 3,916.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 20.1 แบ่งเป็น (1) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 2,523.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 22.7 และ (2) การนำเข้า (สะสม) กลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 1,393.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 14.9 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 1,309.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ภาพที่ 2 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก 

เมื่อพิจารณามูลค่าการส่งออกแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ซึ่งประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า ทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์มีการปรับตัวลดลงเมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) และช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ภาพที่ 3 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ เดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563

สำหรับผลิตภัณฑ์เส้นใยประดิษฐ์ พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่าการส่งออก 56.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) และเมื่อพิจารณาเป็นรายตลาด ใน 3 อันดับแรก พบว่า มีการปรับตัวเพิ่มขึ้น จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกาและปากีสถาน ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 24.4 และ 10.3  (YoY)

ขณะที่ภาพรวมการส่งออก (สะสม) 11 เดือน พบว่า ยังคงปรับตัวลดลงเช่นกันอยู่ที่ร้อยละ 17.9 (YoY) คิดเป็นมูลค่า 647.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ จากการส่งออกไปยังตลาดหลักที่ยังคงปรับตัวลดลง (สะสม) อย่างต่อเนื่อง ยกเว้นตลาดปากีสถาน ที่ปรับตัวเพิ่มขึ้น (สะสม) อยู่ที่ร้อยละ 14.3 

ภาพที่ 4 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563

ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เส้นด้าย พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่าการส่งออก 44.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.5 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) จากการส่งออกไปตลาดญี่ปุ่นและจีน ที่ยังคงปรับตัวลดลงในเดือนนี้เช่นกัน ยกเว้นการส่งออกเส้นด้ายไปยังตลาดโคลัมเบีย ที่มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) 

ขณะที่ภาพรวมการส่งออก (สะสม) 11 เดือน พบว่า ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 24.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งมีมูลค่าการส่งออกเส้นด้าย (สะสม) 11 เดือน คิดเป็นมูลค่า 464.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งในภาพรวมการส่งออก (สะสม) ไปยังตลาดหลัก พบว่า ตลาดญี่ปุ่นและจีน ยังคงปรับตัวลดลง (สะสม) อยู่ที่ร้อยละ 25.3 และ 25.4 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ภาพที่ 5 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563

การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ในเดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) 11 เดือน พบว่า การส่งออกผลิตภัณฑ์ผ้าผืน ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 20.8 และ 22.0 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) แต่การส่งออกผ้าผืนในเดือนพฤศจิกายน ไปยังตลาดเวียดนาม ซึ่งถือเป็นตลาดหลักสำหรับการส่งออกสินค้ากลุ่มนี้ มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.2 หรือที่มูลค่า 24.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งมีส่วนแบ่งการตลาด คิดเป็นร้อยละ 26.3

แต่ในภาพรวมส่งออก (สะสม) 11 เดือน ไปยังตลาดในกลุ่มอาเซียน ประกอบด้วย เวียดนาม เมียนมา และกัมพูชา ยังคงมีการปรับตัวลดลงอย่างต่อเนื่อง 

ภาพที่ 6 แสดงมูลค่าการส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563

ขณะที่การส่งออกผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า มีมูลค่าการส่งออก 162.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 21.7 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกไปยังตลาดหลักอย่างสหรัฐอเมริกา ที่ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 16.1 (YoY) รวมทั้งการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่นและเบลเยียม ที่ปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน ที่ร้อยละ 15.8 และ 48.9

ทั้งนี้ ภาพรวมการส่งออก (สะสม) 11 เดือน เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ยังคงปรับตัวลดลงเช่นเดียวกันที่ร้อยละ 17.7 ซึ่งมีมูลค่าการส่งออก (สะสม) 11 เดือน คิดเป็นมูลค่า 1,936.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ โดยเป็นผลจากการส่งออกในทุกตลาดที่ยังคงปรับตัว (สะสม) ลดลงอย่างต่อเนื่อง เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) 

ภาพที่ 7 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก

เมื่อพิจารณาฝั่งการนำเข้า พบว่า มูลค่าการนำเข้าแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า ปรับตัวลดลงในทุกรายการสินค้า เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หากเมื่อเทียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM) พบว่า ทั้ง 3 ผลิตภัณฑ์ มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5, 7.0 และ 16.4 ตามลำดับ

ภาพที่ 8 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้าย เดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563

สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์เส้นด้ายในเดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) 11 เดือน พบว่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 17.0 และ 28.9 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าจากตลาดหลัก 3 อันดับแรกที่นำเข้าลดลงต่อเนื่อง ทั้งในเดือนพฤศจิกายน และ (สะสม) 11 เดือนของปี 2563 

ภาพที่ 9 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืน เดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563

สำหรับการนำเข้าผลิตภัณฑ์ผ้าผืนในเดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) 11 เดือน พบว่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์กลุ่มนี้ ยังคงปรับตัวลดลงร้อยละ 9.4 และ 17.3 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) หรือคิดเป็นมูลค่า 139.3 และ (สะสม) 11 เดือน ที่มูลค่า 1,445.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ซึ่งเป็นผลจากการนำเข้าจากตลาดหลัก คือ ตลาดจีน ทั้งในรายเดือน และ (สะสม) 11 เดือนของปี 2563 นำเข้าลดลงเมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY)

ขณะที่ในเดือนพฤศจิกายน 2563 มีมูลค่าการนำเข้าผ้าผืนเพิ่มขึ้นจากตลาดเวียดนาม ซึ่งปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 16.0 (YoY) คิดเป็นมูลค่า 13.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ภาพที่ 10 แสดงมูลค่าการนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม เดือนพฤศจิกายน 2563 และ (สะสม) เดือนมกราคม-พฤศจิกายน 2563

ขณะที่การนำเข้าผลิตภัณฑ์เครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า มีมูลค่าการนำเข้า 88.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 23.1 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ขณะที่การนำเข้า (สะสม) 11 เดือน พบว่า มีมูลค่านำเข้ารวม 909.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ปรับตัวลดลงร้อยละ 19.4 (YoY) 

ขณะที่ภาพรวมการนำเข้า (สะสม) 11 เดือนของผลิตภัณฑ์ในกลุ่มนี้ยังคงปรับตัวลดลงในทุกตลาด

ภาพที่ 11 แสดงมูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 4 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อน (MoM)

ทั้งนี้ หากพิจารณามูลค่าการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 4 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นใยประดิษฐ์ เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากการส่งออกไปยังตลาดใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า ภาพรวมการส่งออกของทั้ง 4 ผลิตภัณฑ์ มีการปรับตัวลดลง

โดยเส้นใยประดิษฐ์ มีการปรับตัวลดลงอยู่ที่ร้อยละ 12.0 จากการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐฯ และปากีสถาน

ขณะที่เส้นด้าย มีการส่งออกปรับตัวลดลงเช่นเดียวกัน อยู่ที่ร้อยละ 3.0 จากการส่งออกไปยังตลาดญี่ปุ่น จีน และโคลัมเบีย ตามลำดับ

เช่นเดียวกับการส่งออกผ้าผืน ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ปรับตัวลดลงที่ร้อยละ 2.9 จากการส่งออกไปยังตลาดเวียดนาม ปรับตัวลดลงในเดือนนี้ เมื่อเทียบ MoM ขณะที่การส่งออกผ้าผืนไปยังตลาดเมียนมา และกัมพูชา มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 72.7 และ 7.8 หรือที่มูลค่า 10.6 และ 8.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ 

และการส่งออกเครื่องนุ่งห่ม ปรับตัวลดลงร้อยละ 8.1 ในทุกตลาดหลัก ทั้งสหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น และเบลเยียม ที่ร้อยละ 2.4, 14.0 และ 32.1 ตามลำดับ

ภาพที่ 12 แสดงมูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มแยกตาม 3 ผลิตภัณฑ์หลัก เมื่อเปรียบเทียบกับเดือนก่อนหน้า (MoM)

ขณะที่มูลค่าการนำเข้าสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม ใน 3 ผลิตภัณฑ์หลัก ประกอบด้วย เส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม ในเดือนพฤศจิกายน 2563 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) จากตลาดนำเข้าใน 3 อันดับแรกของแต่ละผลิตภัณฑ์ พบว่า การนำเข้าผลิตภัณฑ์ในกลุ่มเส้นด้าย ผ้าผืน และเครื่องนุ่งห่ม มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 2.5, 7.0 และ 16.4 ตามลำดับ 

โดยผลิตภัณฑ์ในกลุ่มด้าย มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดจีนและญี่ปุ่น คิดเป็นร้อยละ 11.4 และ 5.9 สำหรับการนำเข้าผ้าผืน มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นเช่นเดียวกัน โดยนำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดจีน คิดเป็นร้อยละ 9.1 หรือที่มูลค่า 72.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ และการนำเข้าเครื่องนุ่งห่ม มีการนำเข้าเพิ่มขึ้นจากตลาดจีนและอิตาลี คิดเป็นร้อยละ 13.0 และ 31.9 

จะเห็นว่า ภาพรวมการส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ปรับตัวลดลงร้อยละ 15.8 เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปีก่อน (YoY) ซึ่งเป็นผลจากการส่งออกไปยังตลาดหลัก ใน 5 อันดับแรก ได้แก่ สหรัฐอเมริกา ญี่ปุ่น เวียดนาม จีน และเมียนมา ปรับตัวลดลงร้อยละ 9.1, 10.8, 6.6, 26.3 และ 32.5 เมื่อเทียบกับเดือนก่อน (MoM) โดยทั้ง 5 ตลาด มีส่วนแบ่งการตลาดรวมกัน คิดเป็นร้อยละ 49.7

“โดยเฉพาะการส่งออกไปยังตลาดสหรัฐอเมริกา ซึ่งถือเป็นอีกหนึ่งตลาดหลักที่สำคัญของไทย พบว่า ในเดือนพฤศจิกายน 2563 ภาพรวมการส่งออกไปยังตลาดดังกล่าว มีการปรับตัวลดลงร้อยละ 9.1 (MoM) คิดเป็นมูลค่า 87.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ทั้งนี้ เป็นผลสืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดและการควบคุม covid-19 ในประเทศ ที่ยังส่งผลต่อความเชื่อมั่นของผู้บริโภคในประเทศที่ยังคงปรับตัวลดลง”

ประเด็นข้อสังเกต ในเดือนพฤศจิกายน 2563 พบว่า ฝั่งการนำเข้าของไทย มีการปรับตัวเพิ่มขึ้นในรายการสินค้าหลัก ทั้งสินค้าวัตถุดิบ (ระดับต้นน้ำ : เส้นใยและเส้นด้าย) และสินค้ากึ่งสำเร็จรูป (ผ้าผืน) โดยคาดว่า ปริมาณการนำเข้าที่เพิ่มขึ้นในเดือนนี้ จะส่งผลต่อกำลังการผลิตและการส่งมอบสินค้า ที่คาดว่าจะปรับตัวเพิ่มขึ้นในเดือนถัดไป

-------------------------------------------------

Source : Information and Communication Technology Center with Cooperation of The Customs Department


จัดทำและเรียบเรียงโดย 

ศูนย์ข้อมูลและดิจิทัลอุตสาหกรรม (งานข้อมูล) 

สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ

4 มกราคม 2564

นำเข้าส่งออกสิ่งทอ, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, Import, Export, Textile, Clothing, ปี 2564, เดือนพฤศจิกายน, THTI, Fashion Intelligence Unit, FIU