หน้าแรก / THTI Insight / ความเคลื่อนไหวอุตสาหกรรม / จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน ฉบับที่ 49 (เดือนเมษายน 2562)

จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน ฉบับที่ 49 (เดือนเมษายน 2562)

กลับหน้าหลัก
22.04.2562 | จำนวนผู้เข้าชม 1123


จดหมายข่าวอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม_รายเดือน

ฉบับที่ 49 (เดือนเมษายน 2562)

Business ข้อมูลธุรกิจ

ข่าว :

ค้นพบศักยภาพผ้าไทยผ่านมุมมอง Ms. Jet Shenkman แฟชั่นดีไซเนอร์ระดับโลก

นอกจากสินค้าแฟชั่น เครื่องหนัง รวมทั้งสินค้าของขวัญ ของตกแต่งบ้านและเฟอร์นิเจอร์ งานแสดงสินค้าระดับนานาชาติ STYLE Bangkok เดือนเมษายน ซึ่งกำลังจะจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ ณ ไบเทค บางนา ระหว่างวันที่ 17-21 เมษายนนี้ ยังมีอีกหนึ่งข่าวดีสำหรับผู้ประกอบการสินค้าแฟชั่นที่ต้องการอัพเดตเทรนด์แฟชั่นใหม่ๆ ส่งตรงจากรันเวย์ระดับโลก รวมถึงค้นหาแรงบันดาลใจและศักยภาพของผ้าไทย ซึ่งนับวันยิ่งได้รับความนิยม ถูกใช้เป็นวัตถุดิบในการตัดเย็บเสื้อผ้า สร้างความชื่นชมและประทับใจไปทั่วโลก

กรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ กระทรวงพาณิชย์ (DITP) จะจัดกิจกรรมสนทนาประสาแฟชั่น หัวข้อ “ค้นหาศักยภาพสินค้าผ้าผืนและแฟชั่นไทย ตอบโจทย์โลกยุคใหม่” โดยเชิญ Ms. Jet Shenkman แฟชั่นดีไซเนอร์ชื่อดังจากประเทศอังกฤษ ผู้ก่อตั้งและครีเอทีฟไดเร็คเตอร์ของแบรนด์ดัง Eponine London ผู้ซึ่งสร้างสรรค์ผลงานให้กับสมาชิกราชวงศ์และบุคคลที่มีชื่อเสียงในวงสังคมอังกฤษและผู้รักแฟชั่นมามากมายและที่สร้างความตื่นตาตื่นใจไปทั่วโลกคือ ชุดผ้าชาวเขาที่เครสสิดา โบนาส สวมใส่ในพิธีเสกสมรสของเจ้าชายแฮร์รีและเมแกน มาร์เคิล เมื่อปีพ.ศ. 2561

ข้อมูลเพิ่มเติม

ข้อมูลตลาด :

สถานการณ์อุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2562

 

ภาพที่ 1 แสดงภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2562

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มไทย ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า การส่งออกสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 559.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.18 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 354.5 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.57 และ (2) การส่งออกกลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 205.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.29 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 389.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 4.96 แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มสิ่งทอ มีมูลค่า 259.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 7.41 และ (2) การนำเข้ากลุ่มเครื่องนุ่งห่ม มีมูลค่า 129.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 0.47 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 170.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์อุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้าไทย เดือนกุมภาพันธ์ 2562

ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมเครื่องหนังและรองเท้า ในเดือนกุมภาพันธ์ 2562 พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 156.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 12.23 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 105.8 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 18.52 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 50.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.03 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าของอุตสาหกรรมในเดือนดังกล่าว มีมูลค่า 137.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 1.74 เมื่อเทียบกับเดือนเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 90.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ลดลงร้อยละ 8.99 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 47.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 15.75 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าเกินดุล คิดเป็นมูลค่า 19.0 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

ในขณะที่ภาพรวมการค้าระหว่างประเทศของอุตสาหกรรมดังกล่าว สะสม 2 เดือน (มกราคม – กุมภาพันธ์ 2562) พบว่า การส่งออกเครื่องหนังและรองเท้า มีมูลค่า 292.9 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 5.55 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การส่งออกกลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 191.6 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 6.62 และ (2) การส่งออกกลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 101.3 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 3.58 ขณะที่ภาพรวมการนำเข้าสะสมของอุตสาหกรรมดังกล่าว มีมูลค่า 329.1 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.11 เมื่อเทียบกับช่วงเวลาเดียวกันของปีก่อน แบ่งเป็น (1) การนำเข้ากลุ่มเครื่องหนัง มีมูลค่า 216.4 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 4.84 และ (2) การนำเข้ากลุ่มรองเท้า มีมูลค่า 112.7 ล้านเหรียญสหรัฐฯ ขยายตัวเพิ่มขึ้นร้อยละ 25.50 และส่งผลให้ภาพรวมดุลการค้าขาดดุล คิดเป็นมูลค่า 36.2 ล้านเหรียญสหรัฐฯ

รายละเอียดเพิ่มเติม

สถานการณ์ส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2562

การส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับไทย ระหว่างเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2562 มีมูลค่าเพิ่มขึ้นร้อยละ 1.41 (ร้อยละ 0.91 ในหน่วยของเงินบาท) หรือมีมูลค่า 2,182.39 ล้านเหรียญสหรัฐ (69,474.22ล้านบาท) เมื่อเทียบกับช่วงเดียวกันของปี 2561 ที่มีมูลค่า 2,152.05 ล้านเหรียญสหรัฐ (68,847.65ล้านบาท) นับเป็นสินค้าส่งออกที่สำคัญในอันดับที่ 3 และคิดเป็นสัดส่วนร้อยละ 5.38 ของสินค้าส่งออกโดยรวมของไทย ทั้งนี้ เมื่อหักทองคำออก การส่งออกสินค้าอัญมณีและเครื่องประดับที่แท้จริงมีมูลค่า 1,372.88 ล้านเหรียญสหรัฐ (43,701.08 ล้านบาท) ปรับตัวลดลงจากช่วงเดียวกันของปีก่อนหน้าร้อยละ 3.87 (ร้อยละ 4.08 ในหน่วยของเงินบาท)

รายการ

มูลค่า (ล้านเหรียญสหรัฐ)

สัดส่วน (ร้อยละ)

เปลี่ยนแปลง

ร้อยละ

ม.ค.-ก.พ. 61

ม.ค.-ก.พ. 62

ม.ค.-ก.พ. 611

ม.ค.-ก.พ. 62

มูลค่าส่งออกอัญมณีและเครื่องประดับทั้งหมด

2,152.05

2,182.39

100.00

100.00

1.41

หัก มูลค่าส่งออกทองคำฯ

723.83

809.51

33.63

37.09

11.84

คงเหลือมูลค่าการส่งออกที่ไม่รวมทองคำฯ

1,428.22

1,372.88

66.37

62.91

-3.87

หัก มูลค่าสินค้าส่งกลับจากการเข้าร่วมงานแสดงสินค้าในต่างประเทศ และอื่นๆ

68.76

75.28

3.20

3.45

9.48

คงเหลือมูลค่าส่งออกสุทธิ

1,359.46

1,297.60

63.17

59.46

-4.55

ที่มา: กรมศุลกากร ประมวลผลโดยสถาบันวิจัยและพัฒนาอัญมณีและเครื่องประดับแห่งชาติ (องค์การมหาชน)

มื่อแยกพิจารณาการส่งออกในรายผลิตภัณฑ์สำคัญพบว่า

1.สินค้าสำเร็จรูปเครื่องประดับเงิน เครื่องประดับทอง และเครื่องประดับแพลทินัม หดตัวลงร้อยละ 11.25, ร้อยละ 3.06 และร้อยละ 16.99 ตามลำดับส่วนเครื่องประดับเทียม ขยายตัวสูงขึ้นร้อยละ 3.03

2.สินค้ากึ่งสำเร็จรูปพลอยเนื้อแข็งเจียระไนเพิ่มขึ้นร้อยละ 11.01 ขณะที่เพชรเจียระไนและพลอยเนื้ออ่อนเจียระไนปรับตัวลดลงร้อยละ 15.87 และร้อยละ 1.38 ตามลำดับ

รายละเอียดเพิ่มเติม

Design ออกแบบ

ว่าด้วยเรื่องของสร้อยข้อมือและกีฬาเทนนิส


สร้อยข้อมือ เป็นเครื่องประดับชนิดหนึ่งซึ่งได้รับความนิยมในหมู่สตรีในทุกชนชั้นมาหลายยุคหลายสมัย ชื่อของมันในภาษาอังกฤษ ‘Bracelet’ มาจากคำในภาษากรีกว่า “Brachile” หมายถึง ที่อยู่บนข้อมือ

ในสมัยโบราณสร้อยข้อมือทำจากวัสดุต่างๆ อาทิ กระดูกสัตว์ เขาสัตว์ ไม้ หิน โลหะประเภทต่างๆ ฯลฯ นำมาสลักเสลาขัดเกลาให้ได้รูปแล้วจึงเรียงร้อยออกมาเป็นสาย ในอดีตนั้นสร้อยข้อมือจะถูกใช้ในลักษณะของการแสดงออกทางสัญลักษณ์ตามความเชื่อ ศาสนา หรือใช้เพื่อเป็นเครื่องรางมากกว่าเพื่อวัตถุประสงค์ด้านความสวยงามอย่างในปัจจุบัน

กาลเวลาผ่านไป วิวัฒนาการออกแบบของสร้อยข้อมือได้เปลี่ยนแปลงไปไกลพอสมควร ปัจจุบันสร้อยข้อมือมีรูปแบบและดีไซน์ที่หลากหลาย แต่มีสร้อยข้อมือรูปแบบหนึ่งที่ถึงแม้ว่าดีไซน์ของมันออกจะดูค่อนข้างเรียบง่าย หากแต่ในความธรรมดานี้กลับมีเรื่องราวซ่อนอยู่ ชื่อของมันเป็นชื่อของกีฬาเทนนิส หรือที่เรียกกันว่า “Tennis Bracelet”

แล้วสร้อยข้อมือกับกีฬาเทนนิส มีความเกี่ยวข้องกันอย่างไร? มันถูกออกแบบมาสำหรับกีฬาประเภทนี้เท่านั้นหรือ?

รายละเอียดเพิ่มเติม

Innovation นวัตกรรม เทคโนโลยี

Asics ใช้พื้นรองเท้ารูปแบบโค้งเพื่อพัฒนารองเท้าวิ่ง "ประหยัดพลังงาน"

Asics บริษัทผลิตภัณฑ์กีฬาของญี่ปุ่นใช้เทคโนโลยี Guidesole 3 เพื่อพัฒนารองเท้า “ประหยัดพลังงาน” ซึ่งช่วยให้นักวิ่งสามารถวิ่งในระยะทางไกลได้ง่ายขึ้น

Metaride เป็นผลิตภัณฑ์ที่ใช้ระยะเวลามากถึง 2 ปีในการวิจัยทางวิทยาศาสตร์และการออกแบบจากทีมวิจัยของสถาบันวิทยาศาสตร์การกีฬาของ Asics (ISS) ในเมืองโกเบ ประเทศญี่ปุ่น และได้รับการออกแบบมาเพื่อลดการเคลื่อนไหวบริเวณข้อเท้าซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการวิ่ง

บริษัท Asics ระบุว่ารองเท้าดังกล่าวได้รับการพิสูจน์ทางวิทยาศาสตร์แล้วว่าสามารถลดการสูญเสียพลังงานที่บริเวณข้อเท้ามากถึงร้อยละ 20 ซึ่งจะแสดงให้เห็นถึงความแตกต่างของ "การเคลื่อนไหว" สำหรับนักวิ่งระยะไกล

กุญแจสำคัญคือ เทคโนโลยี Guidesole 3 ของ Asics ที่มีลักษณะเป็นรูปโค้งที่ผ่านการคำนวณมาอย่างแม่นยำเพื่อช่วยในการส่งน้ำหนักตัวไปข้างหน้าเพื่อให้นักวิ่งรู้สึกถึงการเคลื่อนไหวอย่างง่ายดาย

รายละเอียดเพิ่มเติม

Quality มาตรฐานคุณภาพ

การเปลี่ยนแปลงกฎแหล่งกำเนิดสำหรับเครื่องนุ่งห่มในเขตการค้าเสรีของสหรัฐอเมริกา - โมร็อกโก

การเปลี่ยนแปลงกฎแหล่งกำเนิดสำหรับสิ่งทอและเครื่องนุ่งห่มบางส่วนภายใต้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหรัฐฯ - โมร็อกโก (USMFTA) มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 เมษายน ส่งผลให้เสื้อผ้าทอของสตรีบางประเภทสามารถใช้วัตถุดิบจากประเทศอื่นนอกเหนือจากสหรัฐอเมริกา – โมร็อกโกได้โดยไม่มีการเก็บภาษีศุลกากร

การเปลี่ยนแปลงดังกล่าวเป็นผลมาจากข้อร้องเรียนของรัฐบาลโมร็อกโกท่ามกลางความกังวลว่า ผู้ผลิตทั้งในสหรัฐและโมร็อกโกจะไม่สามารถผลิตเนื้อผ้าออกมาในปริมาณที่ผู้บริโภคต้องการได้ในทันที

นอกจากนี้ข้อตกลงเขตการค้าเสรีสหรัฐ - โมร็อกโก (USMFTA) มีการใช้กฎแหล่งกำเนิดในรูปแบบ “yarn-forward” กล่าวคือ สามารถนำเส้นใยที่ผลิตจากประเทศต่าง ๆ มาใช้ แต่เมื่อถึงกระบวนการที่ใช้เส้นด้ายในการผลิตเสื้อผ้า กระบวนการนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในเขตการค้าเสรีหรือภายในประเทศสหรัฐและโมร็อกโกเท่านั้น กฎนี้บางครั้งเรียกว่า "triple transformation" เนื่องจากขั้นตอนการการปั่นเส้นด้าย การทอ หรือการถักผ้า และผลิตเครื่องแต่งให้สำเร็จรูปขั้นตอนทั้งหมดนี้จะต้องเกิดขึ้นภายในเขตการค้าเสรีเท่านั้น

รายละเอียดเพิ่มเติม

THTI Activities กิจกรรมสถาบันฯ

เปิดยิ่งใหญ่ STYLE Bangkok ต้อนรับนักธุรกิจและผู้ซื้อจาก 70 ประเทศ บินตรงร่วมชมศักยภาพอุตสาหกรรมสินค้าไลฟ์สไตล์ไทย

พิธีเปิดงานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์แถวหน้าของเอเชีย ซึ่งจัดขึ้นวันพุธที่ 17 เมษายน 2562)  ได้รับเกียรติจากนายบุณยฤทธิ์ กัลยาณมิตร ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เป็นประธาน ร่วมด้วยนางสาวบรรจงจิตต์ อังศุสิงห์ อธิบดีกรมส่งเสริมการค้าระหว่างประเทศ ท่ามกลางคณะผู้บริหารจากภาครัฐและเอกชน สมาคม สมาพันธ์ฯ สถาบันพัฒนาอุตสาหกรรมสิ่งทอ และองค์กรที่เกี่ยวข้อง ตลอดจนสื่อมวลชนที่เข้าร่วมงานอย่างคับคั่ง

ปลัดกระทรวงพาณิชย์ กล่าวระหว่างพิธีเปิดว่า “งานแสดงสินค้า STYLE Bangkok คือผลสำเร็จอันเกิดจากการผนวกความยิ่งใหญ่ของ 3 งานแสดงสินค้าไลฟ์สไตล์นานาชาติ ได้แก่ งานแสดงสินค้าแฟชั่นและงานแสดงสินค้าเครื่องหนัง หรือ BIFF & BIL งานแสดงสินค้าของขวัญและงานแสดงสินค้าของใช้ในบ้าน หรือ BIG+BIH และงานแสดงสินค้าเฟอร์นิเจอร์ หรือ TIFF ซึ่งแต่ละงานได้มีการจัดต่อเนื่องมายาวนานกว่า 20 ปี”

รายละเอียดเพิ่มเติม

Newsletter, no.49, เดือนเมษายน, ปี 2562, อุตสาหกรรม, สิ่งทอและเครื่องนุ่งห่ม, ธุรกิจ, ออกแบบ, นวัตกรรม, มาตรฐานคุณภาพ, Quality, Design, Innovation, กิจกรรม